37210 จำนวนผู้เข้าชม |
ดาดฟ้าเป็นพื้นที่โล่งกว้างชั้นบนสุดของตึกอาคารสูง เป็นพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เป็นจุดชมวิว พื้นที่โล่งสำหรับปลูกผักพื้นที่เล็ก ๆ ใช้พื้นที่ทำสระว่ายน้ำ ดาดฟ้าไม่มีหลังคาปกคลุม ดาดฟ้าจึงเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับฝนตกน้ำขัง น้ำรั่ว หากฝนตกมากเกินไปอาจเกิดภาวะระบายน้ำไม่ทัน เผชิญกับแดดแรง อาจทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพเร็ว เปื่อยผุแตกร้าวได้ง่าย ยิ่งเผชิญฝนแดดพายุนานหลายๆปีโดยไม่มีการดูแลรักษาจะส่งผลต่อโครงสร้างตึกได้ หากระบบกันซึมไม่มีประสิทธิภาพหรือทำการปกป้องไม่ดีตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง จะทำให้น้ำฝนซึมลงในรอยร้าวเกาะกับเหล็กโครงสร้างภายใน ทำให้เหล็กมีสนิมและตันในที่สุด สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างและมีความเสี่ยงอันตรายต่อผู้อาศัยได้
ดาดฟ้าจึงควรได้รับการปกป้องมากที่สุด วิธีติดตั้งกันซึมดาดฟ้าไมใช่เรื่องยาก มาดูกันว่าวิธีไหนเหมาะกับดาดฟ้าแบบใดบ้าง มีคุณสมบัติใดบ้าง ใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
1. โพลียูรีเทนกันซึม เกราะป้องกันดาดฟ้าทรงพลัง
โพลียูรีเทนกันซึม หรือเรียกว่า กันซึมพียู (PU Waterproof) เป็นกันซึมที่เหมาะที่สุดสำหรับใช้เคลือบคอนกรีตบนดาดฟ้า ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันความร้อน ป้องกันน้ำรั่วซึมไม่ให้ไหลซึมลงผิวคอนกรีต ทั้งนี้ยังมีความยืดหยุ่นสูง 300 – 500% ไม่ว่าโครงสร้างอาคารจะสั่นสะเทือน หรือเจอแดดร้อนมากแค่ไหนก็ไม่หวั่น โพลียูรีเทนจะยืดขยายตัวออกเพื่อปกปิดรอยร้าว ไม่ให้น้ำไหลผ่านรอยร้าวนั้นได้
จุดเด่นของ โพลียูรีเทนกันซึม เป็นวัสดุกันซึมชั้นเยี่ยมที่ทนทานต่อน้ำขัง ไม่ว่าดาดฟ้าจะมีน้ำขังนานกว่า 10 วันในวันที่ฝนตกต่อเนื่องไม่หยุด โพลียูรีเทนกันซึมจะรองรับน้ำฝน ทำหน้าที่ป้องกันผิวดาดฟ้าไม่ให้น้ำซึมลงชั้นคอนกรีตได้
นอกจากนี้โพลียูรีเทนกันซึม ยังใช้งานได้กับผนังภายนอกบ้านได้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา เนื่องจากน้ำฝนกระเด็นใส่
หากพบว่าดาดฟ้าหรือผนังกำแพงบนดาดฟ้ามีรอยแตกแล้ว สามารถทา โพลียูรีเทนกันซึม ได้เลย เพราะเป็นกันซึมที่ปกปิดได้ดีเยี่ยมกว่ากันซึมประเภทอื่น ๆ ควรทาอย่างน้อย 2 เที่ยวเพื่อให้การทำงานของกันซึมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
2. เสริมความแข็งแกร่งบนดาดฟ้าด้วยอะคริลิคกันซึม
อะคริลิคกันซึม เป็นน้ำยากันซึมที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ โพลียูรีเทนกันซึม แม้ว่าจะไม่ดีเยี่ยมเท่ากัน แต่คุณสมบัติด้านเสริมความแข็งแกร่งเหนือกว่า เพราะอะคริลิคกันซึมช่วยป้องกันการแตกร้าวได้ดีกว่ากันซึมพียู แต่ต้องใช้งานร่วมกับเส้นใยประเภท Fiberglass และ Polyester Mat เส้นใยทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ เส้นใยไฟเบอร์กลาสหากส่องด้วยตัวช่วยอย่างกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเส้นใยแก้ว มีส่วนประกอบของทรายแก้ว หินปูน หินฟันม้า ถักทอกันเป็นเส้นใยเชื่อมกันอย่างหนาแน่น ส่วนเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เป็นเส้นใยที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้มีความคงทนเหนียวแน่นและทนความร้อนได้ดีเยี่ยม เมื่อนำเส้นใยทั้งสองทำงานร่วมกับอะคริลิคกันซึม เช่น ทาเคลือบดาดฟ้า, ปูบนดาดฟ้า จะยิ่งทำให้อะคริลิคกันซึมมีความทนทานต่อความร้อน ป้องกันการเกิดรอยแตกได้ดี
เคล็ดลับทา โพลียูรีเทนกันซึม และอะคริลิคกันซึมป้องกันดาดฟ้าได้ดีที่สุด คือการทาน้ำยากันซึมจากพื้นผิวดาดฟ้าขึ้นมาที่ผนังกำแพงให้สูงขึ้นมาอีก 10 เซนติเมตร ทั้งนี้จะไม่เกิดรอยแตกระหว่างพื้นดาดฟ้าร้าวไปถึงผนังกำแพง เพราะป้องกันการเกิดน้ำขังเป็นเวลานานเสี่ยงเกิดรอยร้าวเป็นทางยาว
3. ปูพื้นดาดฟ้าให้มีสีสันสดใสด้วย กันซึม PVC membrane
กันซึม PVC membrane เป็นแผ่นพลาสติกกันซึมที่ถูกจัดว่าดีที่สุดในตระกูลเมมเบรน เพราะว่าทนทานต่อทุกสภาพอากาศได้ถึง 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นแดดร้อน ฝนตก น้ำขัง เพราะว่าปูพื้นทับดาดฟ้าไปเลย ทำให้ปกป้องพื้นผิวดาดฟ้าไม่ให้โดนแดดโดนน้ำ 100% เพราะเมมเบรนจะรองรับปัญหาดังกล่าวไว้หมด อีกทั้งแผ่น กันซึม PVC membrane ยังมีสีสันสดใส ทำให้ดาดฟ้าสวยได้ตลอดทั้งแนว โดยไม่มีรอยต่อใด ๆ
การปูแผ่น กันซึม PVC membrane ทำได้โดยการเป่าลมร้อนก็จะแนบชิดติดดาดฟ้า
การใช้ประโยชน์ของแผ่นกันซึม PVC membrane คือ ปูรองพื้นเพื่อทำเป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ บนดาดฟ้าได้ เป็นสวนหย่อมปลูกผักก็ได้ ป้องกันรากไม้ได้ดี ทำให้ดาดฟ้าดูมีชีวิตชีวาด้วยสวนหย่อมสวย ๆ ไม่มีดินทรายกระจัดกระจายทั่วดาดฟ้า
4. ซ่อมแซมรอยแตกร้าวด้วยกันซึม Bitumen membrane
แผ่นกันซึม Bitumen membrane มักไม่นิยมเลือกใช้ปูบนดาดฟ้าเท่าไหร่ แต่จะใช้งานประเภทปิดรอยต่อและซ่อมแซมรอยต่อ เพราะปิดรอยต่อได้ 100% โดยน้ำไม่สามารถเล็ดรอยผ่านไปได้เลย มักใช้งานจำพวกปิดรอยต่อใต้หลังคา, กระเบื้อง, คอนกรีต มีคุณสมบัติยึดเกาะได้ดีกับทุกพื้นผิว ป้องกันการรั่วซึมได้อย่างดี มีความยืดหยุ่นสูง
แผ่นกันซึมชนิดนี้มีส่วนประกอบจากยางมะตอยกลั่น และโพลิเมอร์เกรดสูง เสริมด้วยผ้าตาข่ายโพลิเอสเตอร์และไฟเบอร์กลาส ทำให้มีความแข็งแรง เหนียว ทนทานต่อการฉีกขาด
แต่ข้อเสียของแผ่นกันซึมเมมเบรนทั้งสองชนิดไม่ว่าจะเป็น กันซึม PVC membrane และ กันซึม Bitumen membrane มีผลกระทบต่อพื้นคอนกรีตดาดฟ้านั่นคือ คอนกรีตไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้เพราะถูกปิดทับแนบสนิท หากปูแผ่นเมมเบรนไว้ระยะยาวอาจทำให้คอนกรีตเปื่อยได้ง่าย ทั้งนี้แผ่นพลาสติกเมมเบรนยังเสี่ยงเกิดไฟไหม้ได้ง่ายด้วย จึงควรระมัดการจุดเทียน จุดประทัดไม่ให้ตกพื้นอย่างเด็ดขาด
ดาดฟ้าเป็นหนึ่งของอาคารที่เผชิญกับธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบดาดฟ้าบ่อย ๆ เพื่อสำรวจวัสดุกันซึมหากชำรุดหรือเสื่อมสภาพจะส่งผลต่ออาคารได้ง่าย เช่น พบแอ่งน้ำขังทั้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต้องทำการปรับปรุงพื้นที่โดยด่วน เพื่อไม่ให้น้ำขังจนซึมลงในเนื้อคอนกรีต ต้องปรับองศาพื้นที่ดาดฟ้าให้น้ำระบายลงท่อระบายน้ำให้หมดให้ได้ ตรวจสอบอย่าให้ท่อระบายน้ำมีเศษใบไม้ เศษขยะ เศษฝุ่นที่พัดพามาในอากาศ อุดช่องรูท่อน้ำทิ้ง จะทำให้น้ำฝนขังอยู่บนดาดฟ้าเป็นเวลานานเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างด้วย ทางที่ดีควรป้องกันโดยใช้ถ้วยตะแกรงคว่ำวางบนท่อน้ำทิ้ง ป้องกันสิ่งสกปรกอุดตันกลางท่อ วิธีง่าย ๆ เหล่านี้จะช่วยถนอมวัสดุ กันซึมดาดฟ้า ไม่ส่งผลเสียต่อโครงสร้างอาคารในระยะยาวด้วย