4569 จำนวนผู้เข้าชม |
ห้องน้ำเป็นห้องที่ใช้งานมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นบ้าน, ตึก, อาคาร การใช้ห้องน้ำนานหลาย ๆ ปี ย่อมเกิดปัญหากับพื้นกระเบื้อง วัสดุปิดพื้นผุผัง หรือซึมไปถึงพื้นคอนกรีตได้ และเลวร้ายไปกว่านั้นอาจจะมีผลต่อเหล็กเสริมทำให้เป็นสนิมตัน พื้นคอนกรีตแตกกะเทาะได้ ไปถึงกระทั่งน้ำรั่วไหลซึมลงห้องชั้นล่าง นึกภาพเช่นนี้คงต้องรื้อปรับปรุงใหม่ หากมองปัญหาเหล่านี้ต้องดูที่ต้นเหตุคือ “ระบบกันซึม” ที่ไม่ดีพอ กันซึมห้องน้ำ ที่ดีจะไม่เกิดผลกระทบเช่นนี้แน่ หากแต่ว่ากระบวนการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้นไม่ใส่ใจรายละเอียดมากพอ ตั้งแต่กระบวนการผสมน้ำยาคอนกรีตในในปูนซีเมนต์เพื่อวางพื้นชั้นแรก และการเทฉาบพื้นมากกว่า 3-5 ชั้น เพราะทุกชั้นจะช่วยปกป้องความชื้นและกันน้ำรั่วซึมอย่างเป็นประสิทธิภาพที่สุด
กันซึมห้องน้ำ ต้องเริ่มตั้งแต่เริ่มแรกผสมปูนซีเมนต์แล้วคือการหล่อพื้นซีเมนต์ที่ผสมด้วยน้ำยากันซึม และเทฉาบบนพื้นคอนกรีตที่เรียกว่าวัสดุกันซึมซีเมนต์เบสเป็นชั้นต่อไป ทำหน้าที่เหมือนเกราะปกป้องน้ำไม่ให้รั่วซึมออกไปได้
ชั้นกันซึมห้องน้ำที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด
1. ซีเมนต์กันซึม หรือเรียกว่า ซีเมนต์เบส เป็นการนำผงปูนกันซึมมาผสมร่วมกับน้ำยาตามอัตราที่กำหนด แล้วทาลงบนพื้นคอนกรีตด้วยแปรงหรือลูกกลิ้งก็ได้ มีคุณสมบัติที่ดีคือทนต่อแรงดันน้ำได้ดี กันน้ำรั่วซึมเยี่ยม ปกปิดรอยร้าวได้สุดยอด ไม่ว่าจะใช้ทาเคลือบบนกระเบื้องก็สามารถทำได้ หรือปูกระเบื้องทับก็ไร้ปัญหา ทาปล่อยเปลือยได้เพราะทนรังสียูวี จึงใช้งานกับนอกอาคารได้ด้วย เช่น ดาดฟ้า, สระว่ายน้ำ, บ่อเลี้ยงปลาก็ทำได้เช่นกัน
2. กันซึมสูตรโพลิเมอร์ เป็นวัสดุทากันซึม ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ มีความสำคัญต่อระบบกันซึมในห้องน้ำมาก หรือใช้ในห้องครัว, สระว่าย, ระเบียงก็จัดว่าเยี่ยมเช่นกัน มีความยืดหยุ่น 500% ยึดเกาะผิวได้ดีเยี่ยมทุกพื้นผิว เช่น ฉาบ แผ่นยิปซั่ม ไม้ โลหะ ใช้ทาเป็นกันซึมก่อนปูระเบียง หรือทับกระเบื้องเดิมก่อนปูเบื้องใหม่ทับ โดยไม่ต้องรื้อกระเบื้องเก่าออกก็ได้