6298 จำนวนผู้เข้าชม |
กันสาดกลายเป็นของตกแต่งยอดฮิตที่ทุกบ้านเอาใช้ต่อเติมเอาไว้เป็นอย่างแรกๆ แต่ปัญหาที่ตามคือ ความมืดทึบ ความอับชื้นและยังร้อนอบอ้าว เนื่องจากแสงแดดส่องเข้ามาภายใต้กันสาด ดังนั้นวันนี้เรามีแบบกันสาดมานำเสนอมากมายหลายรูปแบบ เพื่อจะแก้ไขปัญหาแสงแดดส่องเอามาใต้กันสาดโดยเฉพาะ นอกจากนั้นรูปแบบของกันสาดก็ต้องขึ้นอยู่กับท่านผู้ใช้งานและความชื่นชอบของเจ้าของบ้านว่าเหมาะสมกับแบบใดที่จะเข้ากับสไตล์ของบ้าน เรามาทำความรู้จักกับกันสาดแต่ละแบบกันเลยดีกว่าครับ
1. กันสาดไร้เสา
หากใครต้องการติดตั้งกันสาดแบบโปร่งโล่งไร้เสา ลองนำไอเดียนี้ไปใช้ดูสิ โดยทำเป็นโครงสร้างเหล็ก มุงแผ่นพอลิคาร์บอนเนตซึ่งมีน้ำหนักเบาและช่วยกรองแสงได้ดีไว้ด้านบน จากนั้นยึดโครงสร้างด้านหนึ่งไว้กับผนังอาคาร ส่วนอีกด้านฝากไว้บนแกนเหล็กแขวนเอียง 45 องศา เท่านี้กันสาดไร้เสาก็แข็งแรงทนทานแล้ว
2. กันสาดหน้าต่าง
เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์นที่นิยมติดตั้งหน้าต่างกระจกแบบบานเลื่อน ซึ่งมีโอกาสฝนสาดได้ง่าย และการติดตั้งกันสาดทีหลังทำได้ยากลำบาก เราจึงแนะนำให้ทำกันสาดด้วยการทำโครงสร้างเหล็กเป็นกรอบสี่เหลี่ยมยึดกับผนังแทน เท่านี้คุณก็ไม่ต้องกังวลเรื่องความแข็งแรง แดดและฝนอีกต่อไปแล้ว
3.กันสาดด้านข้าง
ติดตั้งตรงทิศที่ฝนสาด หรือแดดส่องเข้ามาเป็นประจำ เราสามารถติดผ้าใบที่ปลายกันสาดได้ โดยยึดผ้าใบไว้กับลวดสะลิง เพื่อกันไม่ให้ผ้าใบปลิวตามแรงลม ส่วนโครงสร้างของกันสาดทำจากโครงเหล็กกล่อง ขนาด 2 X4 นิ้ว วางทับด้วยหลังคาลอนเดียวชนิดใส และตีซี่ไม้ระแนง ขนาด 1X1 นิ้ว ปิดทับด้านใต้อีกทีหนึ่ง
4.กันสาด กึ่งทึบกึ่งโปร่ง
ถ้าอยากให้แสงสว่างส่องลงมาถึงภายในบ้าน แนะนำให้ทำกันสาดด้วยแผนหลังคาลอนเดียวชนิดใส วางทับบนโครงสร้างเหล็กกล่อง ขนาด 1X2 นิ้ว ที่ตีเป็นโครงสร้างตามต้องการ โดยออกแบบให้ยื่นจากแนวผนังเดิม 120 เซนติเมตร เพื่อกันฝนสาด
5. กันสาดอะลูมิเนียม
เหมาะกับมุมระเบียงที่ต้องการความโปร่งโล่งหรือกึ่งทึบกึ่งโปร่ง จากเดิมที่เคยคุ้นตากับไม้ระแนง ลองเปลี่ยนวัสดุมาเป็นโครงเหล็กตัวเอช (H) ให้ดูทันสมัย แล้วติดอะลูมิเนียมอบสีขาว ขนาด 1 X 1 นิ้ว ตีห่างกัน 1 นิ้ว ไว้ด้านบน เสร็จแล้วปิดทับด้วยแผ่นพอลิคาร์บอนเนตใสเพื่อกันฝนและแดด
6. กันสาดม่านน้ำตก
ใครว่ามีกันสาดไว้เพื่อกันแดดและฝนอย่างเดียว ลองสร้างความพิเศษให้กันสาดด้วยการซ่อนท่อน้ำไว้ด้านบน แล้วปล่อยสายน้ำให้ตกลงมายังบ่อน้ำริมระเบียงด้านล่าง เกิดเป็นภาพม่านน้ำสวย ๆ ให้ความรู้สึกสดชื่นได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ควรเลือกใช้ซี่ระแนงสแตนเลสแทนวัสดุชนิดอื่นเพราะมีความทนทาน และทนน้ำได้ดี
7. กันสาดต่อเติม
กันสาดที่ยื่นออกมาจากแนวอาคารมาก ๆ ควรมีเสามารับน้ำหนักเพิ่มเติม โดยแยกโครงสร้างให้ยื่นออกจากอาคารเดิม แล้วตีแนวไม้จันทันฝากน้ำหนักไว้กับเสา เท่านี้ระเบียงก็จะมีกันสาดยื่นยาวออกไปได้ตามต้องการแล้ว
8. กันสาดนั่งเล่นได้
ต่อเติมกันสาดให้ยื่นออกนอกตัวอาคารด้วยแผ่นไม้ขนาดหน้ากว้าง 15 เซนติเมตร เว้นร่องห่างกัน 2 เซนติเมตร โดยตีแนวคานไม้ให้ห่างกันทุก ๆ ระยะ 60 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้กันสาดมีความแข็งแรง นอกจากบังแดดและฝนแล้ว เรายังสามารถขึ้นไปนั่งเล่นหรือใช้งานอื่น ๆ ได้ด้วย
9. กันสาดเเผ่นเมทัลชีท
เพิ่มความน่าสนใจใต้กันสาดด้วยการตีไม้ระแนงเว้นร่องให้เป็นช่องระบายอากาศใต้หลังคา ทั้งยังช่วยให้ใต้หลังคาดูน่ามองยิ่งขึ้น โดยเว้นระยะให้แผ่นเมทัลชีทยื่นออกมา 25 เซนติเมตร เพื่อกันน้ำฝนไหลย้อนลงมาโดนแผ่นไม้
10. ระแนงไม้
ทำกันสาดจากซี่ไม้ ขนาด 1 X 1 นิ้ว ตีทับแนวผนังและคานไม้ เหมาะกับบ้านสไตล์รีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ หรือศาลาพักผ่อนในสวน และเพื่อให้ดูเข้ากับธรรมชาติมากขึ้น แนะนำให้ทาสีย้อมไม้แบบด้านเพื่อโชว์พื้นผิวและลายไม้ที่สวยงาม
11. กันสาดม่านต้นไม้
เพื่อความร่มรื่นและกรองแดดได้ในตัว ด้วยการตีไม้ระแนง ขนาด 1 X 4 นิ้ว เป็นแนวยาวเว้นร่องห่างกัน 10 เซนติเมตร แล้วตีโครงไม้ไผ่ทับ เพื่อให้ม่านบาหลีสามารถยึดเกาะ และห้อยรากอากาศลงมาเป็นแนวม่านธรรมชาติ
12. กันสาดคลาสสิก
นำไม้ระแนง ขนาด 1 X 4 นิ้ว มาวางตั้งตรงห่างกันทุก ๆ ระยะ 20 – 40 เซนติเมตร และเลื่อยปลายไม้ให้มีลักษณะเฉียง 45 องศา รองรับด้วยเสาไม้กลึงสไตล์คลาสสิก แล้วตกแต่งด้วยค้ำยันเหล็กดัดช่วยให้บ้านดูสวยสไตล์ยุโรป
13. ผ้าใบกันฝนแบบใส หรือ Rain Curtains
Rain Curtains หรือผ้าใบกันฝนแบบใส ทำหน้าที่เป็นที่กันฝนไม่ให้สาดเข้าไปภายในบ้าน แต่ก็ยังเปิดพื้นที่ให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ด้านนอกได้ดี เช่นชื่อที่บอกว่า Clear View
สำหรับในบ้านตัวอย่างนี้ จะเห็นว่ามีการใช้หน้าต่างกระจกในห้องอื่นๆ แต่ส่วนที่เป็นระเบียงนั่งเล่นนี้ ผู้ออกแบบกลับเลือกใช้ม่านกันฝนแบบใส ซึ่งเข้ากันได้ดีกับบรรยากาศของระเบียงนั่งเล่นซึ่งให้ความเป็นเอาท์ดอร์ แม้จะมีการตรึงขอบให้ยึดติดกับเสาและชายคาบ้าน แต่หากต้องการปรับเปลี่ยนหรือเลิกใช้ ก็ทำได้ง่าย การจัดเก็บอาจเป็นการหมุนมือหรือใช้มอเตอร์ไฟฟ้า (ราคาก็จะแตกต่างกันไป) ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดให้อากาศถ่ายเทเข้าด้านในได้ในวันแดดร่มลมตก
14. ม่านหรือมู่ลี่ปรับแสง
หากสร้างบ้านที่มีห้องกระจก ก็มักต้องติดตั้งม่าน ที่บังสายตา หรือมู่ลี่ คู่กัน แต่ทั้งนี้หากเลือกเป็นชนิดที่ปรับแสงได้ ก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายตามการใช้งานนั่นเอง
สำหรับบ้านตัวอย่างในภาพนี้จะเป็นการติดตั้งม่านปรับแสงในแนวตั้ง ที่เปิดให้ควบคุมปริมาณแสงที่เข้ามาได้ตามความต้องการ อย่างไรก็ตาม อีกสิ่งที่มีผลต่อปริมาณแสงที่เข้ามา คือ ประเภทของใบผ้าม่าน เช่น ใบม่านทำจากใยสังเคราะห์ที่สามารถเลือกอัตราความทึบแสงได้ ใบม่าน ใบอะลูมิเนียมซึ่งดูแข็งกว่าแต่กันแสงได้ดีเยี่ยม หรือจะเป็นใบม่านพีวีซี ใบม่านไฟเบอร์ซันสกรีน เจ้าของบ้านสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้ตามงบประมาณ และความต้องการของเจ้าของบ้านเอง
15. ม่านกระจกที่พลิกเปิดปิดได้
พื้นที่เชื่อมต่อกับจุดเอาท์ดอร์ของบ้านอย่างห้องริมสระว่ายน้ำ แผ่นกระจกติดตั้งกับรางอะลูมิเนียมที่สามารถเปิดปิดได้คล้ายบานเฟี้ยม ตัวอย่างนี้เป็นการออกแบบของบริษัท SUNFLEX Aluminiumsysteme GmbH จากเยอรมนี ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสาน ตัวกระจกเปิดปิดได้ แต่ยามปิดก็สามารถยึดติดกันได้แน่น ไม่เกิดรอยรั่วให้ฝนสาดเข้ามาได้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามไม่ว่าท่านจะเลือกกันสาดแบบไหนก็ตามใจที่ท่านชื่นชอบ เรายังมีวิธีการแนวการติดตั้งมาแนะนำอีกด้วยเพื่อป้องกันแดดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ถ้าจะติดตั้งกันสาดด้านทิศเหนือและทิศใต้ ควรเลือกติดกันสาดแนวนอนขนานไปกับประตูหน้าต่างเพื่อช่วยบังแสงแดดที่จะเข้ามาในตอนใกล้เที่ยงและบ่าย เช่น ติดชายคาเหนือขอบหน้าต่าง แบบผ้าใบที่ยื่นออกมาคล้ายๆ ชายคา ส่วนทิศตะวันออกและตะวันตกแสงแดดเข้าสู่ตัวบ้านมากที่สุดช่วงเช้าและบ่ายแก่ๆ ควรติดกันสาดแนวตั้งทำมุมประมาณ 30 องศากับผนัง หรือจะใช้การผสมผสานกันทั้งกันสาดแนวตั้งและแนวนอน ก็จะช่วยกันแดด กันฝนได้ตลอดทั้งวัน นี่แหละครับคือการแก้ไขไม่ให้ร้อนอบอ้าวและยังไม่ไม่ให้แสงเล็ดลอดเข้ามาในบ้านอีกด้วยครับ