28852 จำนวนผู้เข้าชม |
ส่วนต่อเติมของบ้านหรือโรงรถที่ทรุดตัวนั้น จากที่ได้ยินเจ้าของบ้านหลายๆท่านได้พูดถึง เราก็ได้พบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหานั้นก็คือเสาเข็มที่สั้นเกินไป เช่นเสาขย่มที่ผู้รับเหมานิยมนำเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมมาค่อยๆ ขย่มลงไปในพื้นดินด้วยความลึกเพียง 5-6 เมตร เป็นผลให้เมื่อดินรอบรอบ บ้านเกิดการทรุดตัวลง เสาเข็มจึงทรุดลงไปพร้อมๆ กัน เพราะเสาเข็มที่ช่างรับเหมาหลายๆ ท่านเลือกใช้นั้นเป็นเพียงเสาคอนกรีตหกเหลี่ยมยาว 4 เมตรเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วการลงเสาเข็มที่ถูกต้องสำหรับการสร้างบ้านนั้นจะต้องตอกลึกลงไปถึงชั้นดินแข็งคือ 18-21 เมตร
ทางแก้นั้นเราบอกไว้เลยว่าอาจจะมีไม่มากนักโดยทางที่ดีที่สุดก็คือการรื้อส่วนต่อเติมนั้นๆแล้วลงเสาเข็มและฐานรากเสียใหม่ให้ถูกต้องจึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด ซึ่งเสาเข็มที่เหมาะกับงานต่อเติมที่มีพื้นที่น้อย มีอาคารข้างเคียงที่การลงเสาเข็มแบบปกตินั้นอาจส่งผลกระทบได้ สำหรับวันนี้เรามีประเภทของเสาเข็มมาแนะนำ มีอะไรบ้างมาดูกันได้เลยครับ
1. เข็มเหล็ก หรือ Kemrex
"เข็มเหล็ก" เสาเข็มระบบแห้งที่สามารถเจาะลงไปในชั้นดินได้โดยไม่ต้องมีการขุดก่อนลงเข็ม เหมาะสำหรับโครงสร้างเบาอย่างโครงเหล็ก ฐานรากเข็มเหล็กเป็นฐานรากชนิดสั้น แต่สามารถรับแรงรับได้เยอะกว่าฐานรากชนิดสั้นแบบทั่วไป เพราะเข็มเหล็กมีฟินที่ทำหน้ายึดเกาะดินให้แน่นขึ้นครับ สำหรับงานต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ หรือ ห้องครัวที่น้ำหนักไม่มาก เข็มเหล็กก็เรียกได้ว่าดีเหลือเฟือ
2. เสาเข็มไมโครไพล์ โดย PP. MICROPILE
เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun micropile) เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง โดยเมื่อขั้นตอนผลิตเสร็จสิ้นแล้วจะได้คอนกรีตที่มีมวลความหนาแน่นสูงและทนทาน กำลังอัดประลัยของคอนกรีตจะมีมากกว่าวิธีปกติ ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง สามารถรับน้ำหนักได้สูงมากกว่าหากเปรียบเทียบกับขนาดเสาเข็มหน้าตัดอื่นๆ
3. ฐานรากวางบนดิน (Spread Foundation) หรือที่เรียกว่า ฐานรากแผ่
คือฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่ดินด้านล่างโดยตรง เพื่อให้ดินเป็นตัวรับน้ำหนัก จึงเหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนพื้นที่ที่มีดินชั้นบนแข็ง ยากต่อการขุดเจาะ หรือเหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่มีน้ำหนักไม่มาก โดยวางบนดินทรายที่บดอัดแน่น เช่น รั้ว หลังคาโรงรถ (วัสดุหลังคาเบา) ซึ่งอาจมีการทรุดตัวได้ตามสภาพดินและน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง
การหล่อเทพื้นคอนกรีตเพื่อทำเป็นพื้นโรงจอดรถในบ้าน โดยทั่วไปจะทำได้ทั้งแบบที่ลงเสาเข็มและไม่ลงเสาเข็ม กรณีที่ไม่ลงเสาเข็มจะเป็นการทำ “พื้นคอนกรีตวางบนดิน” หรือที่เรียกว่า Slabs on ground ซึ่งจะถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่พื้นดินโดยตรง (ก่อนจะหล่อพื้นควรบดอัดดินและทรายให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันพื้นคอนกรีตแตกร้าวหากดินหรือทรายใต้พื้นยุบตัวไม่เท่ากัน)
อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านต้องการชลอการทรุดตัวของพื้นคอนกรีต อาจเลือกลงเสาเข็มสั้นได้ กรณีใต้พื้นที่ดังกล่าวไม่มีการเดินงานระบบใดๆ สามารถเลือกทำ ”ฐานเข็มแบบปูพรม” ซึ่งจะมีเสาเข็มรองรับใต้ดินกระจายทั่วพื้น ในทางกลับกัน หากใต้พื้นดินมีการเดินงานระบบทำให้ไม่สามารถลงเข็มแบบปูพรมได้ อาจเลี่ยงมาใช้อีกวิธีคือการทำ “ฐานเข็มกลุ่ม” โดยลงเสาเข็มเป็นกลุ่มๆ ตามจำนวนฐานรากแทน
การต่อเติมบ้านเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นที่เจ้าของบ้านต้องการ ไม่ว่าเป็นการต่อเติมครัว หรือหลังคาโรงรถ หากต่อเติมส่วนอื่นๆ ในบ้าน การตอกเสาเข็มเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามจริงๆ ยิ่งหากส่วนอื่นๆ ของบ้านมีร่องรอยการทรุดตัวของดินไปแล้วด้วย เปอร์เซ็นดินส่วนที่ต่อเติมหลังคาโรงรถจะทรุดตัวนั้นก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยปัญหา ส่วนต่อเติมทรุด นั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะเสาเข็มที่สั้นเกินไป เมื่อดินทรุดทำให้เสาเข็มทรุดตัวลงไปด้วย
โดยทั่วไปแล้ว การลงเสาเข็มที่ถูกต้องสำหรับการสร้างบ้านนั้นจะต้องตอกลึกลงไปถึงชั้นดินแข็งคือ 18-21 เมตร แต่บางครั้งถ้าเป็นการใช้งานที่ไม่ได้รับน้ำหนักมากนัก ฐานรากแบบแผ่ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่มักจะถูกหยิบยกมาใช้กัน แต่อย่าลืมว่าแม้ฐานรากจะยึดตัวแน่นหนากับพื้นดินแล้ว แต่การยุบตัวของพื้นที่ก็อาจมีเกิดขึ้นได้ และเมื่อการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันเกิดขึ้น บ้านและส่วนต่อเติมจึงแยกออกจากกันได้ง่ายขึ้น
ส่วนประเภทของเสาเข็มสำหรับงานต่อเติม เข็มเหล็ก (Kemrex) คือเสาเข็มที่ตอบโจทย์ที่เหมาะสมกับการการตอกเสาหลังคาโรงรถ เพราะเหมาะกับโครงสร้างเบาอย่างโครงเหล็ก ฐานรากเข็มเหล็กเป็นฐานรากชนิดสั้น แต่รับแรงได้เยอะกว่าฐานรากแบบสั้นทั่วไปทำให้ยึดเกาะดินได้แน่นขึ้น เหมาะกับงานต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ หรือห้องครัวที่มีน้ำหนักไม่หนักมากนัก
แต่อย่างไรก็ดีก่อนที่จะสร้างโรงรถหรือส่วนต่อเติมบริเวณรอบบ้านต้องคำนึงถึงเรื่องส่วนต่อเติมทรุดแยกออกจากตัวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากโครงสร้างใหม่ไม่มีระบบฐานรากที่ไม่มั่นคงและสร้างบนดินที่เพิ่งถมได้ไม่นาน อัตราการทรุดของโครงสร้างใหม่นี้จึงสูงกว่าโครงสร้างเก่าที่ทำฐานรากไว้อย่างแข็งแรงแล้ว นำมาซึ่งการแตกร้าวแยกส่วนของพื้นที่ทั้งสองนี้ แต่ถ้าหากลงฐานรากเสาเข็มแล้วก็ลดความเสี่ยงการทรุดตัวได้มากเลยทีเดียวครับ