3 ประเภทของบันได ลูกนอนบันได ข้อดี ข้อเสีย ของบันไดแต่ละประเภท

15917 จำนวนผู้เข้าชม  | 

3 ประเภทของบันได ลูกนอนบันได ข้อดี ข้อเสีย ของบันไดแต่ละประเภท
    
บันไดเป็นส่วนหนึ่งของอาคารที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ของอาคาร ใช้เป็นทางขึ้นลงระหว่างชั้นต่างๆ ในอาคาร ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างชั้นล่างและชั้นบน จำเป็นต้องมีสัดส่วนพอเหมาะใช้ประโยชน์ได้เพียงพอและปลอดภัย ซึ่งอาจทำด้วยไม้ อิฐ หิน คอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเหล็กล้วน ๆ ตามความเหมาะสมและประโยชน์ใช้สอย

ประเภทของบันได แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

     1. บันไดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนใหญ่เป็นบันไดทึบ คือ ไม่สามารถมองลอดลูกตั้งไปได้ การก่อสร้างจะต้องมีการทำไม้แบบ และผูกเหล็กเสริม ก่อนที่จะเทคอนกรีตการก่อสร้างจึงใช้เวลามาก สามารถทำได้หลายประเภท เช่น งานขัดมัน ทรายล้าง หรือคอนกรีตเปลือย ข้อดีก็คือ ทำความสะอาดง่าย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน บันไดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบ่งเป็น 4 รูปแบบหลักๆ คือ
  • บันไดท้องเรียบ เป็นบันไดที่มีท้องบันไดเรียบซึ่งรูปแบบก็ตามชื่อ เป็นบันไดแบบพื้นฐานที่สร้างง่ายที่สุด ช่างทั่วไปมีความชำนาญในการสร้าง
  • บันไดพับผ้า เป็นบันไดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีท้องบันไดเป็นหยักไปตามขั้นบันได เป็นบันไดที่มีความสวยงามมากกว่าบันไดท้องเรียบ แต่ต้องแลกมาด้วยการก่อสร้างที่ยากขึ้น เนื่องจากจะช่างจะต้องตีไม้แบบเป็นหยักที่ท้องบันได
  • บันไดพับผ้าแบบมีแม่บันได ลักษณะเหมือนบันไดพับผ้า แต่จะมีแม่บันไดที่ทำหน้าที่เป็นคานช่วยรับน้ำหนัก ซึ่งอาจจะอยู่กลางหรือริมบันไดก็ได้ สามารถลดความหนาของลูกตั้งและลูกนอน บันไดให้บางมากขึ้นได้ เนื่องจากมีแม่บันไดรับน้ำหนักแล้ว
  • บันไดลอย เป็นบันไดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ยื่นเฉพาะลูกนอนบันไดออกมาจากผนัง เหมือนขั้นบันไดแต่ละขั้นลอยได้ ซึ่งจริงๆ แล้วจะมีแม่บันไดคอนกรีตเสริมเหล็กซ่อนอยู่ในผนัง

     2. บันไดไม้ เหมาะกับภายในบ้านที่ต้องการอารมณ์ความรู้สึกแบบธรรมชาติ หากเป็นบันไดนอกอาคาร ก็สามารถเลือกวัสดุที่ทำผิวสัมผัสคล้ายไม้แทนกันได้ เช่น พลาสติก หรือไม้เทียม บันไดไม้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 

  • บันไดไม้จริง ทำเป็นบันไดลูกนอนและชานพัก สำหรับชานพักบันไดที่มีขนาดใหญ่ จะไม่สามารถใช้ไม้ชานพักบันไดแบบชิ้นเดียวได้ ต้องใช้ไม้จริงทำรางลิ้นมาประกอบเป็นชานพักบันได ข้อดี คือ มีความแข็งแรง ทำได้ง่าย สามารถใช้ชิ้นไม้ที่มีตัดลูกนอนและชานพักตามขนาดได้เองที่หน้างาน แต่ก็มีข้อจำกัด คือ บันไดไม้จริงต้องผ่านกระบวนการอบไม้ และคัดสรรไม้ที่ดี เพื่อลดการโก่งตัวของบันไดไม้หลังการใช้งาน
  • บันไดไม้จริงเอ็นจิเนียร์ โครงสร้างบันไดเป็นการประสานชิ้นไม้เนื้อแข็งขึ้นรูปเป็นแผ่นตามขนาด ผิวหน้าบันไดไม้จริงเอ็นจิเนียร์เป็นการปิดผิวหน้าของชิ้นไม้ประสานส่วนโครงสร้างบันไดด้วยไม้จริงหนา 3 มิล ผิวหน้าของบันไดไม้เอ็นจิเนียร์มีความสวยงามด้วยหน้าไม้จริงที่ปิดผิว ข้อดีของบันไดไม้จริงเอ็นจิเนียร์ มีความแข็งแรงคงทน ทนต่อความชื้นและแรงกระแทกสูง มีราคาถูก
  • บันไดไม้จริงประสาน เป็นการประสานชิ้นไม้ขนาดความกว้าง 40-50มิล ขึ้นรูปตามขนาดลูกนอน และขนาดชานพัก ผิวหน้าบันไดเป็นชิ้นไม้ต่อประสานลักษณะเหมือนไม้ปาร์เก้ ข้อดี คือมีราคาถูก เนื้อไม้ยางพารามีสีขาวเหลืองสามารถทำสีได้ง่าย ทำสีได้ตั้งแต่สีไม้ทนอ่อนสีบีช สีโอ๊ค จนถึงสีโทนเข้มสีวอลนัท การประสานของชิ้นไม้ยางพาราประสาน ช่วยลดการโก่งตัวของบันไดหลังการใช้งาน     

     3. บันไดโครงสร้างเหล็ก นิยมใช้ในงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ติดตั้งรวดเร็ว แต่ก็มักจะมีปัญหาเรื่องเสียงตามมาด้วยเช่นกัน บันไดโครงสร้างเหล็กจะมีลักษณะการก่อสร้างที่ใกล้เคียงกันกับบันไดไม้ ซึ่งจะแตกต่างกันแค่วัสดุที่เลือกใช้นั่นเองว่าจะใช้เหล็กหรือไม้

ส่วนประกอบของบันได

  1. ลูกนอน  คือ ส่วนที่เป็นพื้นยกพื้นเป็นระดับต่อๆ กันขึ้นไปจากพื้นชั้นล่างถึงพื้นชั้นบน จำนวนของลูกนอนรวมกันเข้าเป็นความยาวของบันได แต่ละอันใช้กันตั้งแต่ 0.20–0.30 ม. หรือมากกว่านั้น ความหนา 1.5”–2” บันไดภายนอกมักใช้กว้างกว่าบันไดภายใน
  2. ลูกตั้ง  คือ ส่วนที่เป็นความสูงของบันไดแต่ละขั้น จำนวนลูกตั้งทั้งหมดรวมกันเข้าเป็นความสูงของบันได แต่ละอันใช้กันตั้งแต่ 0.15–0.20 ม.
  3. แม่บันได  คือ ส่วนที่เป็นคานรับน้ำหนักบันไดวางในแนวเอียง มุมของแม่บันไดขึ้นอยู่กับการกำหนดลูกตั้ง
  4. พุกบันได คือ ส่วนของบันไดที่ทำหน้าที่เหมือนตงรับถ่ายทอดน้ำหนัก จากลูกนอนแต่ละขั้นลงสู่แม่บันได
  5. เสาบันได ทำหน้าที่รับน้ำหนักของชานบันได ซึ่งแม่บันไดไปพาดอยู่ หรือหมายถึงเสาค้ำยันตรงปลายล่าง และบนของบันได
  6. ราวบันได คือ ส่วนที่ใบใช้สำหรับเกาะพยุงตัวในการขึ้นบันได จำเป็นต้องมีในช่วงบันไดสูงๆ อย่างน้อย 1 ข้างใช้เสารับเป็นระยะ ความสูงของราวบันไดวัดตั้งแต่พื้นไม่เกิน 0.80 เมตร
  7. ลูกกรงบันได คือ ส่วนของบันไดที่ทำหน้าที่กันตก ใช้ยึดกับราวบันไดตลอดแนว
  8. ช่วงบันได คือ บันไดในตอนหนึ่งๆ บันไดยาวๆ อาจแบ่งออกเป็นหลายช่วง ช่วงหนึ่งๆ ไม่ควรเกิน 11–12 ขั้น (ลูกตั้ง) และแต่ละช่วงต้องมีชานบันได หรือพื้นห้องคั่นไว้เป็นที่พัก
  9. พักบันได คือ ที่มีบันไดหลายช่วงและส่วนเชื่อมช่วงบันได แต่ละช่วงพักบันไดเป็นตัวเชื่อมพักบันไดกว้างเท่ากับความกว้างของบันได
  10. จมูกบันได คือ ขอบของลูกนอนที่ยื่นออกมาจากแนวลูกตั้งถ้าเป็นไม้ประมาณ 1” และจะมีมนโดยรอบ
 
 
สนใจดูราคาติดตั้งบันได คลิ๊ก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ 090-9864354, Line: @ibw1187w

>> กลับสู่หน้าหลัก <<

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้