ไม้ก่อสร้างในท้องตลาดมีกี่แบบ เทคนิคในการเลือกซื้อไม้ก่อสร้าง

5159 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไม้ก่อสร้างในท้องตลาดมีกี่แบบ เทคนิคในการเลือกซื้อไม้ก่อสร้าง

          ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เพราะไม้สามารถหาได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับการอยู่อาศัย ที่สำคัญเนื้อไม้มีลวดลายที่สวยงามสามารถทำให้บ้านน่าอยู่อาศัย

          ไม้สำหรับงานก่อสร้างในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภท โดยได้จำแนกตามคุณลักษณะและชนิดของไม้ เช่น ไม้เนื้อแข็ง มีข้อดีในเรื่องความแข็งแรงนิยมนำมาใช้ในการวางโครงสร้างบ้านจำพวก เสา พื้น และคาน ด้านไม้เนื้ออ่อนโดดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่น มีโทนสีที่จางกว่าไม้เนื้อแข็ง นิยมนำมาตกแต่งเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ อย่างไรก็ดีนอกจากความหลากหลายประเภทของไม้ ปัจจุบันตลาดวัสดุก่อสร้างได้มีการพัฒนาไม้ให้ออกมาในหลากหลายรูปแบบสำหรับการตกแต่งบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง รวมทั้งวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปต่างๆ เช่น ไม้ฝา ระแนงไม้ เป็นต้น ดังนั้นประเภทของไม้ก่อสร้างแบ่งออกดังนี้

          1. ไม้เนื้อแข็ง ข้อดีของไม้ประเภทนี้ คือ มีความแข็งแรงสูงสามารถสร้างความอุ่นใจสำหรับการอยู่อาศัยด้วยความปลอดภัย นิยมนำมาใช้ในการวางโครงสร้างบ้าน เช่น เสา คาน เพดาน ตลอดจนการปูพื้น โดยไม้เนื้อแข็งในประเทศไทยประกอบไปด้วย ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะแบก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ทั้งหมดสามารถหาได้ง่ายตามท้องตลาดวัสดุก่อสร้าง

          2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีจุดเด่นในเรื่องโทนสีที่เรียบเนียน อย่างเช่นสีน้ำตาลอมแดงหรือสีแดงเข้ม ไม้เนื้อแข็งปานกลางนิยมนำมาตกแต่งบริเวณภายในหรือในที่ร่มจะทำให้บ้านดูสวยงามแบบคลาสลิค ที่สำคัญให้อารมณ์และความรู้สึกอย่างอบอุ่นและใกล้ชิดกับธรรมชาติ สำหรับไม้ประเภทดังกล่าวในประเทศไทย ได้แก่ ไม้ชุมแพรก ไม้สัก ไม้นนทรี ไม้กระบาก ไม้ยูง ไม้พลวง ไม้ตาเสือ เป็นต้น

          3. ไม้ซุง ปัจจุบันได้มีการแปรรูปมาเป็นวัสดุตกแต่งที่สวยงาม เช่น การจัดเรียงเป็นผนัง หรือการทำพื้นที่นอกชานหรือระเบียงไม้นอกบ้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านทรงไทยที่เชื่อมพื้นที่ระหว่างภายนอกและภายใน สามารถใช้ทำกิจกรรมได้หลากหลาย ข้อเด่นของไม้ซุงดูผิวเผินอาจจะหยาบและแข็งกระด้าง ในทางกลับความไม่เท่ากันของขนาดสะท้อนให้เห็นถึงการตกแต่งที่เรียบง่าย เป็นธรรมชาติในสไตล์คันทรีได้อย่างนุ่มลึก

          4. ไม้เนื้ออ่อน โดยข้อดีของบ้านไม้เนื้ออ่อนนั้นเด่นชัดในเรื่องทนทานแม้จะแข็งแรงไม่เท่าไม้เนื้อแข็งก็ตาม อย่างไรก็ดีไม้เนื้ออ่อนมีความสวยงาม เพราะโทนสีที่ดูดเบาบางและลวดลายที่เป็นธรรมชาติให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกผ่อนคลาย พร้อมกันไม้ประเภทดังกล่าวนิยมนำมาออกแบบและตกแต่งได้ทั้งภายในและภายนอก เช่น ประตู หน้าต่าง ผนัง พื้น รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์บางชิ้น ที่สำคัญไม้แบบนี้บางชนิดมีราคาไม่สูงเหมาะสำหรับผู้อยู่อาศัยที่มีงบจำกัด ไม้เนื้ออ่อนในประเทศไทยที่นำมาปรับใช้ในการปลูกสร้างบ้าน ประกอบไปด้วย ไม้ยาง ไม้กระท้อน ไม้ต้นมะพร้าว ไม้พะยอม ไม้กระเจา และไม้สน เป็นต้น

          5. ไม้ฝา โทนสีของเนื้อไม้เมือสะท้อนกับแสงแดดยกระดับบ้านให้ดูสวยงามแบบคลาสลิคและมีรสนิยมไม่เหมือนใคร ข้อเด่นของไม้ฝาไม่ได้มีแต่ความสวยงามยังเด่นชัดในเรื่องความแข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาพอากาศอีกด้วย ถือได้ว่าไม้ฝาเป็นหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการนำมาก่อสร้างและตกแต่งบ้านในยุคปัจจุบัน

          6. ไม้เทียมหรือไม้สังเคราะห์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ ผงไม้ และเม็ดพลาสติก ซึ่งมีความสวยงามรวมทั้งให้อารมณ์และความรู้สึกไม่แพ้กับไม้จริงเลยทีเดียว โดยข้อดีของไม้ประเภทดังกล่าวนั้นมีคุณสมบัติอันโดดเด่นที่ทัดเทียมไม้จริง เช่น ทนทานต่อการเผาของไฟ ป้องกันการกัดกินของแมลงจำพวกปลวกได้ พร้อมรับทุกสภาพอากาศ สามารถเลื่อย ตัด เจาะ ขูดเสี้ยน ได้ง่ายเหมือนไม้ธรรมชาติ อย่างไรก็ดีมีราคาไม่สูง ไม่ต้องทาสี และไม่อุ้มน้ำ นิยมนำมาตกแต่งบริเวณผนัง พื้น ฝา รวมทั้งระแนงด้วย

          7. ไม้บาง การใช้ไม้วิเนียร์หรือไม้บางในการตกแต่ง โดยไม้ประเภทนี้เป็นไม่แผ่นบางความหนาไม่เกิน 3 มม. ทำมาจากการฝานเป็นแผ่นบางๆ จากต้นซุง นิยมนำมาตกแต่งบ้านตามจึดต่างๆ เช่น ผนัง วัสดุปูพื้น รวมทั้งชิ้นส่วนตกแต่งเครื่องเรือนต่างๆ หรือผลิตเป็นเฟอร์นิเจอ์มากกว่า เพราะมีความสวยงาม

          การเลือกไม้ก่อสร้างควรเลือกไม้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยข้อควรระลึกถึงในการเลือกใช้ไม้ในงานก่อสร้าง คือสภาพแวดล้อม ใช้กลางแจ้ง หรือในร่ม อาคารมีระบบกันปลวกหรือไม่ งานนั้นๆ ต้องการความสวยงามในระดับใด นอกจากความแข็งแรง และความทนทานแล้ว ต้องคำนึงถึงการหดพองตัวเนื่องจากการดูดหรือคายความชื้น รวมถึงไม้ที่ได้ผ่านการอบแห้งก็ทำให้งานที่ได้ออกมามีคุณภาพดีขึ้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม้ยูคา ในท้องตลาดมีกี่แบบ เทคนิคในการเลือกซื้อไม้ยูคา

ไม้หน้าสามในท้องตลาดมีกี่แบบ เทคนิคในการเลือกซื้อไม้หน้าสาม

ไม้แบบในท้องตลาดมีกี่แบบ เทคนิคในการเลือกซื้อไม้แบบ

ไม้ก่อสร้างในท้องตลาดมีกี่แบบ เทคนิคในการเลือกซื้อไม้ก่อสร้าง

ไม้โครง ไม้จ๊อยในท้องตลาดมีกี่แบบ เทคนิคในการเลือกซื้อไม้โครง ไม้จ๊อย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้