570 จำนวนผู้เข้าชม |
หลังคา LYSAGHT® KLIP-LOK® OPTIMA™
Wider Spanning Better Efficiency
LYSAGHT® KLIP-LOK® OPTIMA™ คือระบบหลังคาแบบไร้รอยเจาะ ระบบขบล็อคล่าสุดที่ออกแบบให้มีลักษณะพิเศษ ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่น ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ประหยัดเวลาก่อสร้างด้วยท้องลอนที่กว้างและสันลอนที่สูง ทำให้ระบายน้ำได้ดี ด้วยรูปลอนที่แข็งแรงและขายึดแบบพิเศษทำให้สามารถพาดแปได้ระยะไกลกว่า รูปลอนยังสามารถดัดโค้งไปตามโครงสร้างได้ความยาวที่ต่อเนื่องของตัวแผ่น และวิธีติดตั้งที่สะดวก รวดเร็ว โดยการใช้คลิป KL98 เป็นสิ่งที่รับประกันประวิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างดี
คุณสมบัติของวัสดุ
ข้อมูลจำเพาะของผลิตภัณฑ์
LYSAGHT® KLIP-LOK® OPTIMA™ ผลิตจากเนื้อเหล็ก G550 (มีค่า Yield Strength ไม่ต่ำกว่า 550 MPa) และเคลือบผิวเหล็กด้วย
ความยาว
สามารถผลิตให้มีความยาวตามขนาดที่ต้องการ ในกรณีที่ต้องการแผ่นหลังคาต่อเนื่อง (ไม่มีรอยต่อ) ที่มีความยาวเกินกว่า 24 เมตร สามารถนำเครื่องไปรีดขึ้นรูปยังสถานที่ติดตั้งที่หน่วยงานได้
ช่วงคลาดเคลื่อนของขนาดแผ่น
มุมลาดเอียงของหลังคา
บริเวณแนวรอยยต่อด้านข้าง (Side lap) ได้รับการออกแบบรูปลอนให้สามารถป้องกันน้ำไหลย้อน (Anti-Capillary) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะจึงทำให้มุมลาดเอียงต่ำสุดของหลังคา LYSAGHT® KLIP-LOK® OPTIMA™ ที่แนะนำคือ 2 องศาหรือประมาณ 1 ต่อ 30
คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์
ความแข็งแรงของเหล็ก | G550 (550 เมกะปาสคาล) |
ความกว้างลอน | 980 มิลลิเมตร |
ความสูงลอน | 43 มิลลิเมตร |
ความชันของหลังคาที่ต่ำสุดที่แนะนำ | 2° (1 ใน 30) |
ความหนาของแผ่นเหล็กไม่รวมชั้นเคลือบ | 0.48, 0.55 & 0.60 มม. |
ระบบการยึดแผ่น | ยึดแผ่นด้วยระบบขบล็อค |
การใช้งาน | หลังคา ผนัง |
ข้อมูลเทคนิคผลิตภัณฑ์
ตาราง 1 : รายละเอียดวัสดุ
ผลิตภัณฑ์ | ความหนาของแผ่นเหล็ก ไม่รวมชั้นเคลือบ (มม.) | ความหนารวมชั้นวัสดุเคลือบ (มม.) | ความหนารวมชั้นวัสดุเคลือบสี (มม.) | น้ำหนักแผ่นต่อความยาว (กก./ม.) | น้ำหนักแผ่นต่อพื้นที่ (กก./ตร.ม.) |
ZINCALUME® steel | 0.48 | 0.53 | - | 4.80 | 4.90 |
Clean COLORBOND® steel | 0.48 | 0.53 | 0.56 | 4.87 | 4.98 |
ZINCALUME® steel | 0.55 | 0.60 | - | 5.47 | 5.58 |
Clean COLORBOND® steel | 0.55 | 0.60 | 0.63 | 5.55 | 5.66 |
ZINCALUME® steel | 0.60 | 0.65 | - | 5.95 | 6.08 |
Clean COLORBOND® steel | 0.60 | 0.65 | 0.68 | 6.02 | 6.15 |
ตาราง 2 : ระยะพาดแป สำหรับการเดินบนหลังคา
ลักษณะช่วงแป | ระยะพาดที่แนะนำ (มม.) | ระยะห่างสูงสุด (มม.) | ||||
Base Metal Thickness (BMT) | 0.48 | 0.55 | 0.60 | 0.48 | 0.55 | 0.60 |
หลังคา | ||||||
ช่วงแปเดี่ยว | 900 | 1100 | 1350 | 1000 | 1250 | 1500 |
ช่วงแปปลาย | 1050 | 1200 | 1350 | 1200 | 1350 | 1500 |
ช่วงแปกลาง | 1900 | 2300 | 2700 | 2200 | 2650 | 3000 |
ระยะยื่นปลาย | 150 | 180 | 200 | 200 | 225 | 250 |
ผนัง | ||||||
ช่วงแปเดี่ยว | 1800 | 2000 | 2200 | 2000 | 2250 | 2500 |
ช่วงแปปลาย | 2000 | 2200 | 2400 | 2300 | 2500 | 2700 |
ช่วงแปกลาง | 3200 | 3200 | 3200 | 3600 | 3600 | 3600 |
ระยะยื่นปลาย | 150 | 180 | 200 | 200 | 2250 | 250 |
*ระยะพาดแป จะต้องพิจารณาจากตาราง 2 และตารางความสามารถรับแรงลม (ตาราง 3) ทุกครั้ง |
ตารางที่ 2 แสดงระยะพาดแปสูงสุดที่ยอมให้โดยทดสอบตามมาตรฐานออสเตรเลีย AS1562 และ AS4040.2 ซึ่งระยะพาดแปนี้สามารถรับแรงจากการเดินบนหลังคา รวมถึงน้ำหนักของการขึ้นไปซ่อมบำรุงหลังคาโดยที่ side-lapping ไม่เสียหาย (ไม่เปิดอ้า)
ตารางนี้สำหรับอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตร ในพื้นที่ปลอดพายุไซโคลน ตามมาตรฐาน AS1170
ถ้าความสูงเกิน 10 เมตร และที่ความสูงใดๆ ต้องพิจารณาตารางที่ 3 ซึ่งแสดงถึงความสามารถการรับแรงลม (Uplift) แผ่นหลังคาและระบบขบล็อค ณ จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง (Serviceability) และหลังคาถึงจุดวิบัติ (Strength)
โดย Serviceability limit state จะเป็นค่าแรงดันลมที่สถานะใช้งานโดยทำการทดสอบจนถึงจุดที่ค่าการโก่งตัวของแผ่นไม่เกิน (Span/120+p/30) โดยที่ Span คือช่วงระหว่างแปและ P คือ ระยะของสันลอน (1 ช่วงท้องลอน)
Serviceability limit state ได้จากการทดสอบแผ่นจนถึงจุดวิบัติ ภายใต้การติดตั้งที่ความหนาของแปไม่น้อยกว่า 1 มม.
ตารางที่ 3 : ระยยะพาดแป จากการที่แผ่นและระบบล็อค สามารถรับแรงลมยก
ความหนาเหล็กไม่รวมชั้นเคลือบ | ค่าแรงดันลมสูงสุดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้บนแผ่น (kPa) | ||||||||||
0.48 mm. | ลักษณะช่วงแป | Limit state | ระยะแป (มม.) | ||||||||
900 | 1200 | 1500 | 1800 | 2100 | 2400 | 2700 | 3000 | 3300 | |||
ช่วงแปเดี่ยว | จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง | 1.11 | 1.00 | 0.89 | 0.79 | 0.69 | 0.59 | 0.50 | 0.41 | 0.32 | |
หลังคาถึงจุดวิบัติ | 3.12 | 2.76 | 2.41 | 2.09 | 1.82 | 1.48 | 1.24 | 1.11 | 1.08 | ||
ช่วงแปปลาย | จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง | 1.20 | 1.18 | 1.14 | 1.05 | 0.94 | 0.82 | 0.71 | 0.62 | 0.53 | |
หลังคาถึงจุดวิบัติ | 3.04 | 2.54 | 2.24 | 2.01 | 1.73 | 1.50 | 1.33 | 1.27 | 1.22 | ||
ช่วงแปกลาง | จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง | 1.18 | 1.17 | 1.15 | 1.10 | 0.99 | 0.87 | 0.77 | 0.69 | 0.64 | |
หลังคาถึงจุดวิบัติ | 2.87 | 2.73 | 2.05 | 1.79 | 1.55 | 1.54 | 1.52 | 1.51 | 1.48 | ||
0.60 mm. | ช่วงแปเดี่ยว | จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง | 1.72 | 1.53 | 1.34 | 1.16 | 0.99 | 0.83 | 0.67 | 0.53 | 0.38 |
หลังคาถึงจุดวิบัติ | 4.50 | 4.22 | 3.65 | 3.14 | 2.68 | 2.28 | 1.94 | 1.64 | 1.40 | ||
ช่วงแปปลาย | จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง | 1.77 | 1.76 | 1.69 | 1.54 | 1.33 | 1.12 | 0.95 | 0.81 | 0.70 | |
หลังคาถึงจุดวิบัติ | 3.58 | 3.52 | 2.89 | 2.37 | 1.94 | 1.67 | 1.46 | 1.30 | 1.23 | ||
ช่วงแปกลาง | จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง | 2.03 | 1.94 | 1.82 | 1.67 | 1.49 | 1.32 | 1.16 | 1.56 | 1.44 | |
หลังคาถึงจุดวิบัติ | 3.66 | 3.21 | 3.06 | 2.73 | 2.30 | 1.90 | 1.67 | 1.56 | 1.44 |
ตัวอย่างการพิจารณาระยะแป
อาคารในเขตภาคกลาง อาคารสูงถึงสันจั่ว (hr)18m อาคารสูงถึงชายคา (he)12m หลังคาเอียง 5 องศา มีผนังปิดรอบบริเวณดังกล่าว มีความเร็วลม 38 m/s อ้างอิง Wind Load Calculation ASCE 7-02 for Component and Cladding คำนวณเป็นแรงดันลมกระทำในแนวราบกับอาคาร 95 kg/m² และคำนวณเป็นแรงดันที่กระทำโดยตรงกับแผ่นได้ดังนี้
Zone 1 (Interior Zones) จะเป็นแรงลมยก 113 kg/m² (1.11 kPa)
*Zone 2 (End Zone) จะเป็นแรงลมยก 189 kg/m² (1.87 kPa)
**Zone 3 (Corner Zone) จะเป็นแรงลมยก 285 kg/m² (2.82 kPa)
วิเคราะห์
แผ่น LYSAGHT® KLIP-LOK® OPTIMA™ หนา 0.48 BMT เลือกระยะพาดแป ที่ระยะแปกลาง 1.80 m. สามารถรับแรงลมที่เกิดขึ้นใน Zone 1 (1.79 > 1.11 kPa) แต่บริเวณ Zone 2 & 3 ได้ปลอดภัย (2.87 > 2.82 kPa)
หมายเหตุ
อาคารสูงขึ้น แรงดันลมก็จะมากขึ้น รวมถึงสภาพภูมิประเทศ และลักษณะอาคารว่าแบบปิดหรือเปิด เป็นต้น ดังนั้นสำหรับการพิจารณาระยะยแปโปรดปรึกษาหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคบริษัท
ตัวอย่างการพิจารณาระยะแป
อาคารในเขตภาคกลาง อาคารสูงถึงสันจั่ว (hr)40m อาคารสูงถึงชายคา (he)34m หลังคาเอียง 5 องศา มีผนังปิดรอบ บริเวณดังกล่าวมีความเร็วลม 38 m/s อ้างอิง ASCE-02 code คำนวณเป็นแรงดันลมกระทำในแนวราบกับอาคาร 102 kg/m² และคำนวณเป็นแรงดันที่กระทำโดยตรงกับแผ่นได้ดังนี้
Zone 1 จะเป็นแรงลมยก 85.9 kg/m²
Zone 2 จะเป็นแรงลมยก 251 kg/m²
Zone 3 จะเป็นแรงลมยก 342 kg/m²
ระยะพาดแปและแรงลม
โปรดระวังเป็นพิเศษ
สำหรับพื้นที่ของหลังคาที่มีแรงดันลมสูงกว่าปกติ เช่น บริเวณ สันจั่วและชายคาของอาคาร หรือบริเวณส่วนมุมและขอบหลังคา (Roof corner, Roof perimeter) ที่ได้รับแรงดันลมสูงกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว จะทำการลดระยะแปหรือเสริมแปให้มีความถี่มากยิ่งขึ้น
ภาพแสดงแรงดันลมที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ American Society of Civil Engineer ASCE 7-05
Figure : Areas vulnerable to high wind pressure,
For further information on wind loading, please refer to American Society of Civil Engineer ASCE 7-05
พื้นที่ที่ไม่มีพายุไซโคลน
ข้อมูลในแผ่นพับนี้เหมาะสำหรับการการใช้ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มต่ำที่จะเกิดพายุไซโคลนเขตร้อนเท่านั้น ซึ่งเป็นตามที่มีกำหนดไว้ใน เอเอส 1170.2-2002 ตามแผนที่และตาราง (ด้านล่าง) นำมาจาก เอชบี 212-2002
ความเร็วลมเปรียบเทียบกับช่วงเวลาในการกลับมา (3 วินาที ลมกรรโชก, 10 ม. ความสูง, ลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะเปิด)
ระดับที่อ้างอิงตามหนังสือ | คำอธิบาย | สมการสำหรับ VR | V50 | V500 |
l | ฝนฟ้าคะนองรุนแรง และมีลมมรสุม | 70 - 56R-0.1 | 32 | 40 |
ll | ฝนฟ้าคะนองรุนแรง และมีลมมรสุม | 67 – 41R-0.1 | 39 | 45 |
lll | ฝนฟ้าคะนองรุนแรง และมีลมมรสุม | 106 – 92R-0.1 | 44 | 57 |
lV | ฝนฟ้าคะนองรุนแรง และมีลมมรสุม | 122 – 104R-0.1 | 52 | 66 |
V | ฝนฟ้าคะนองรุนแรง และมีลมมรสุม | 156 – 142R-0.1 | 60 | 80 |
ตารางสรุปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 3 วินาที ความเร็วลมกรรโชก และช่วงเวลาในการกลับที่แบ่งออกเป็น 5 ชั้น อ้างอิงตามหนังสือ (ดูแผนที่ประกอบ) คำที่แสดงไว้สำหรับระยะเวลา 50 ปี และ 500 ปี ในการกลับมา
ตาราง 4 : ความยาวหลังคาสูงสุดที่แนะนำสำหรับการระบายน้ำโดยวัดจากสันหลังคาไปจนถึงรางน้ำ (เมตร)
ปริมาณน้ำฝน | มุมลาดเอียงของหลังคา | |||||
2 | 3 | 4 | 5 | 8 | 10 | |
200 | 80 | 92 | 102 | 111 | 131 | 142 |
250 | 63 | 73 | 81 | 88 | 105 | 113 |
300 | 52 | 61 | 68 | 74 | 88 | 94 |
400 | 40 | 46 | 51 | 55 | 65 | 71 |
500 | 32 | 37 | 40 | 44 | 52 | 57 |
การเจาะจะเปลี่ยนนทิศทางไหลของน้ำบนหลังคา ดังนั้นเพื่อให้การช่วยเหลือในการออกแบบหลังคาที่มีการเจาะ กรุณาโทรเพื่อขอคำแนะนำจากศูนย์ข้อมูลของเรา
การติดตั้ง
การเตรียมการก่อนติดตั้ง ก่อนที่จะเริ่มควรตรวจสอบให้แน่ใจในเรื่องต่อไปนี้
วางแผ่นให้ถูกทิศทางก่อนยกขึ้น
พิจารณาด้านที่ควรจะเริ่มวางแผ่นก่อน เพื่อให้หลังคากันน้ำได้ดีที่สุด ควรเริ่มจากด้านใต้ลมของทิศทางลมฝนที่หนักที่สุดหรือทางลมฝนในท้องถิ่นนั้น
รูปที่ 1
วางแผ่นวัสดุในทิศตรงข้ามกับการพัดของอากาศ
การหมุนกลับแผ่นบนพื้นดินจะสะดวกกว่าขึ้นไปทำบนหลังคา ดังนั้นก่อนจะยกแผ่นขึ้นจึงควรจัดให้แผ่นหันถูกทิศทาง พร้อมกับให้ปีกแผ่นด้านซ้อนบนหันไปยังมุมอาคารด้านที่จะเริ่มมุงแผ่นก่อน เมื่อยกขึ้นแล้วควรวางแผ่นไว้บริเวณที่มีจันทัน/Truss ไม่ควรวางแผ่นตรงกลางแป
วิธีการติดตั้ง
1. วางตะแกรงลวดบนแป โดยใช้สกรูเป็นตัวยึดหรือใช้วิธีการเชื่อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้ ลวดตะแกรงจะต้องทำการดึงให้ตึง
2. วางตำแหน่งของคลิปตัวแรกบนแปโดยวางไว้บนแปที่อยู่ใกล้กับรางน้ำมากที่สุด (รูปที่ 2)
รูปที่ 2
ยึดคลิปของแถวแรก ยึดคลิป และแผ่นหลังคาถัดมา (และตัวต่อๆ ไป)
3. เริ่มติดตั้งขาคลิปในแนวแรกทุกๆแป ทำการยึดสกรูให้แน่น
4. ยึดคลิปตัวต้นแถวและท้ายแถวก่อน พร้อมใช้สายเอ็นขึงให้ได้แนว จากนั้นยึดคลิปทุกๆ แปในแถวแรกจนเสร็จเรียบร้อย
5. ขันสกรูทะลุผ่านด้านบนของคลิปไปจนถึงแป
รูปที่ 3
วางแผ่นหลังคาแผ่นแรกลงบนคลิป และติดไปบนคลิป วางคลิปและแผ่นหลังคาตัวต่อๆ มาได้ตามต้องการ
รูปที่ 4
การวางแผ่นหลังคาแผ่นแรก
6. วางแผ่นหลังคาแผ่นแรกบนคลิปแถวแรกที่ยึดไว้แล้ว ให้ปลายแผ่นยื่นล้ำเข้าไปในแนวรางน้ำในระยะที่พอเหมาะไม่เกินข้อกำหนด (รูปที่ 3,4)
7. ปูฉนวนกันความร้อนในช่องระหว่างแป
8. กดล็อคแผ่นกับขาคลิปโดยใช้เท้ากดที่สันลอน เพื่อล็อคหลังคากับขาคลิปให้แน่นและแนบสนิท
9. ทำการยึดคลิปที่อยู่ในแถวถัดไปต้องแน่ใจว่าคลิปจะทำมุม 90 องศา กับแผ่น
10. ติดตั้งแผ่นถัดไป โดยปฎิบัติตามขั้นตอนที่ 10 และ 11 ทำการตรวจเช็คเป็นระยะๆ ว่าแผ่นที่ติดตั้งไปแล้วนั้นได้แนวที่เหมาะสมกับโครงสร้างหลังคา (รูปที่ 6)
รูปที่ 5
การประกบเข้าหากันของลอนที่มีการซ้อนทับ
11. การเดินบนหลังคาสามารถเดินไปตามแนวยาวของแผ่นด้วยการเดินบนท้องลอนหรือเดินไปบนแปตามแนวขวางของแผ่น (รูปที่ 5)
การล็อคที่แน่นและแนบสนิทจะทำให้การรับน้ำหนักของระบบล็อคและแผ่นมีประสิทธิภาพที่ดี และสามารถรับแรงได้เป็นอย่างดี
ตรวจเช็คแนวที่ติดตั้งเป็นระยะๆ
ตวจสอบเป็นระยะให้แน่ใจว่าแผ่นหลังคาที่ติดตั้งไปแล้วนั้นได้แนวที่เหมาะสมกับโครงสร้างหลังคา เมื่อดำเนินงานไปสักพักให้ตรวจสอบแนว โดยเฉพาะที่ปลายแผ่นให้ได้แนวเสมอกัน หากวัดแล้วได้ค่าที่ไม่ใกล้เคียงกันมากให้วางแผ่นวัสดุที่จะวางต่อเหลื่อมออกมาเล็กน้อยเพื่อค่อยๆ จัดความผิดพลาดให้อยู่ในแนวที่ถูกต้อง (รูปที่ 6)
รูปที่ 6
ตรวจสอบแนวการวางแผ่นวัสดุเป็นระยะ
การติดตั้งแผ่นหลังคาแผ่นสุดท้าย
หากช่องว่างที่เหลืออยู่มีน้อยกว่าหนึ่งช่วงลอนของแผผ่นหลังคา ให้ตัดเอาเฉพาะด้านแฉกของคลิป KL98 ตามความเหมาะสม เพื่อใช้เกี่ยวล็อคกับลอนตัวผู้ที่ติดตั้งไป แล้วยึดด้วยสกรูจากนั้นใช้แผ่นครอบเชิงชายปิดทับช่องว่างนั้น
การติดตั้ง LYSAGHT® KLIP-LOK® OPTIMA™ กับผนัง
ขั้นตอนของการติดตั้งสำหรับผนังนั้นคล้ายคลึงกับที่อธิบายไว้สำหรับการติดตั้งหลังคา ทั้งนี้เพื่อป้องกันแผ่นผนังไหลลง คุณควรทำการยิงสกรู
การติดตั้งแผ่นโปร่งแสง
เพราะแผ่นวัสดุของงเรามีการขยายตัว เนื่องจากอุณภูมิที่เปลี่ยน แผ่นโปร่งแสงจะถูกยึดติดโดยใช้แหวนที่มีขนาดรูใหญ่เกินกว่าปกติ
หมายเหตุ : ติดตั้งแผ่นโปร่งแสงและแผ่นหลังคาตามคำแนะนำของผู้ผลิต
ZINCALUME® steel & Clean COLORBOND® steel
ZINCALUME®
คุณสมบัติที่โดดเด่นของเหล็กเคลือบโลหะผสม ZINCALUME® ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกด้านการผลิตเหล็กเคลือบ
เหล็กเคลือบซิงคาลุมเป็นเหล็กเคลือบซิงค์-อลูมิเนียม 55% เหมาะสำหรับใช้ในงานก่อสร้างอาคาร ส่วนหลังคาและฝาผนัง และผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องการคุณภาพเหล็ก ซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเหล็กเคลือบสังกะสีถึง 4 เท่า ในสภาวะแวดล้อมเดียวกัน เหล็กเคลือบซิงคาลลุมยังเหมาะกับการใช้งานเชิงสถาปัตยกรรมที่ต้องการการออกแบบที่สวยงามและการก่อสร้างที่ทันสมัยอีดด้วย เหล็กเคลือบ ZINCALUME® ผลิตตามมาตรฐาน AS1397/ISO9364/EN10346/ASTM A792 และ JISG3321
ชั้นที่ 1 ชั้นเคลือบเรซิ่น
ชั้นที่ 2 เคลือบด้วยซิงค์-อลูมิเนียม 55%
ชั้นที่ 3 เหล็กกล้าแรงดึงสูง
ชั้นที่ 4 เคลือบด้วยซิงค์-อลูมิเนียม 55%
ชั้นที่ 5 ชั้นเคลือบเรซิ่น
ระบบการป้องกันสองชั้นจากบลูสโคป
เหล็กเคลือบ ZINCALUME® มีระบบป้องกันสนิม 2 ลักษณะ อลูมิเนียมช่วยเป็นเกราะป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดจากการทำปฎิกิริยาระหว่างอากาศและตัวเนื้อเหล็ก ส่วนสังกะสีช่วยป้องกันการกัดกร่อนบริเวณขอบตัดและรอยขีดข่วน โดยสารประกอบสังกะสีจะสร้างตัวตรงบริเวณขอบตัด ด้วยปฎิกิริยาอิเลคโตรด (electrolytic reaction) และจะสละตัวเองเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เนื้อเหล็ก
COLORBOND®
ชั้นที่ 1 ชั้นเคลือบผิวด้านหน้าโพลีเอสเตอร์หนา 20 ไมครอน
ชั้นที่ 2 ชั้นเคลือบรองพื้นโพลีเอสเตอร์หนา 5 ไมครอน
ชั้นที่ 3 ชั้นเคลือบผิวประสานโลหะและสี
ชั้นที่ 4 ZINCALUME® G300/G550 AZ150 steel substrate
ชั้นที่ 5 ชั้นเคลือบผิวประสานโลหะและสี
ชั้นที่ 6 ชั้นเคลือบรองพื้นโพลีเอสเตอร์หนา 5 ไมครอน
ชั้นที่ 7 ชั้นเคลือบผิวด้านหลังโพลีเอสเตอร์หนา 5 ไมครอน
เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND®
คือผลผลิตที่ดีเยี่ยมจากการค้นคว้า ทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ บลูสโคป สตีลมาเป็นเวลาหลายปี โดยการนำเทคโนโลยีการเคลือบอบสีชั้นสูงมาเคลือบลงบนแผ่นเหล็กเคลือบ ZINCALUME® เพื่อทำการผลิตเหล็กเคลือบสีที่สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนแลละมีสีสวยติดทนนาน การเคลือบสีแบบพิเศษด้วยเทคโนโลยีแบบ “Clean” นี้ถูกออกแบบในการใช้งานเพื่อป้องกันคราบฝุ่นละอองสะสมในแถบภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีความงดงามคงทน
เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® XRW
เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® XRW ได้รับการออกแบบเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานคงทนและมีความต้านทานการกัดกร่อนที่ดี เหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกอาคารที่ต้องการความต้านทานการกัดกร่อนเป็นอย่างสูง เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® XRW ยังได้รับการออกแบบเป็นพิเศษด้วยระบบสีที่มีเทคโนโลยีด้านรังสีอินฟราเรดสำหรับสภาวะอยู่อาศัยที่เย็นสบายมากขึ้น
เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® XPD
เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® XPD เป็นเหล็กเคลือบสีที่พัฒนาโดยบริษัทบลูสโคป สตีล เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสีที่มีคุณสมบัติของเนื้อสีที่มีความทนทานสำหรับการใช้งานภายนอก เป็นตัวเลือกอีดทางหนึ่งสำหรับงานอาคารที่ต้องการความคงทนของสีและความเงางามยาวนาน
เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® Ultra
เหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® Ultra ได้รับการออกแบบโดยเฉพาะเพื่อรองรับอายุการใช้งานที่ยาวนานและต้านทานการกัดกร่อนได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับงานภายนอกอาคารที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมอุตสาหกรรมและอาคารใกล้ทะเล (โดยทั่วไปจะมีระยะห่างจากสภาวะแวดล้อมที่รุนแรงประมาณ 300-500 เมตร)
ข้อควรรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผ่นหลังคาและผนังเหล็กทุกรุ่น
วัสดุที่เข้ากันได้
ควรใช้แปที่ทำมาจากเหล็กเคลือบสังกะสี หรือทาสีป้องกันสนิม
วัสดุที่เข้ากันไม่ได้
วัสดุที่ห้ามนำมาใช้ร่วมกับแผ่นเหล็กเคลือบ ZINCALUME® ได้แก่ ตะกั่ว, ทองแดง, Stainless Steel, monel metal, wet and dry concrete, soils and vegetable matter เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับสารเคลือบ ZINCALUME® เป็นผลให้เกิดการผุกร่อน
การต่อแผ่น
เนื่องจากไม่สามารถต่อแผ่นโดยการเชื่อม ดังนั้นถ้าต้องการต่อแผ่นให้ใช้สกรูหรือหมุดย้ำยึดรอยต่อ และซีลรอยต่อโดยรอบด้วยการซิลิโคน
การดูแลและจัดเก็บ
เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวของแผ่นหลังคาเกิดความเสียหาย ดังนั้นการเคลื่อนย้ายแผ่นควรสวมถุงมือที่แห้ง สะอาด และอย่าลากแผ่นไปบนผิวที่ขรุขระหรือลากไปบนแผ่นด้วยกันเอง โดยแผ่นหลังคาเหล็กจาก ไลสาจท์ จะถูกจัดส่งเป็นมัด ควรจัดวางบนยกพื้นและอยู่ในที่แห้ง แต่ถ้าวางอยู่กลางแจ้งจะต้องจัดหาวัสดุปิดคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝน และความเปียกชื้นที่อาจเกิดแทรกอยู่ระหว่างแผ่น ถ้าแผ่นหลังคาเปียกชื้นให้รีบแยกแผ่นออกจากมัดนำไปเช็ดด้วยผ้าแห้ง แล้วจึงนำไปผึ่งลมให้แห้ง วิธีการเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิววเคลือบเสียหาย คงความสวยงามตลอดอายุการใช้งาน ทั้งนี้ไม่ควรให้แผ่นสัมผัสกับวัสดุที่ชื้นเป็นเวลานาน
การตัดแผ่น
การตัดแผ่นนทุกครั้งควรกระทำบนพื้น ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรตัดบนหลังคา ควรใช้กรรไกรตัดแผ่นในการตัดแผ่นทุกครั้ง หากต้องใช้เลื่อยไฟฟ้าควรคว่ำแผ่นลงบนพื้นผิวที่อ่อนนนุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวเคลือบเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากเศษโลหะร้อนๆ ที่เกิดขึ้นขณะตัดแผ่นและควรใช้เลื่อยไฟฟ้าซึ่งมีใบตัดเป็นโลหะ เพราะจะทำให้เกิดเศษโลหะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แลละยังได้รอยตัดที่ไม่เสียหายอีกด้วย
การบำรุงรักษา
การล้างฝุ่นบนหลังคาควรล้างด้วยน้ำสะอาดและน้ำยาทำความสะอาดชนิดอ่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
1. แผ่นหลังคาและผนังเหล็ก LYSAGHT TRIMDEK®
3. แผ่นหลังคาและผนังเหล็ก LYSAGHT KLIP-LOK® 700
4. หลังคาและผนังความแข็งแรงสูง LYSAGHT KLIP-LOK 700 HI-STRENGTH®
5. แผ่นหลังคาและผนังเหล็ก LYSAGHT HR-29™ HITENSILE
6. แผ่นผนังเหล็ก LYSAGHT PANELRIB® HI-TEN
8. หลังคา LYSAGHT® LOCKED SEAM®
9. ผลิตภัณฑ์ เมทัลชีท WONGGURU