พื้นพียู (พื้น PU) แตกต่างจากพื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) อย่างไร

26847 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พื้นพียู (พื้น PU) แตกต่างจากพื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) อย่างไร

     พื้นพียู (พื้น PU : Polyurethane Floor System) คือ เป็นวัสดุเคลือบพื้นที่ออกแบบมาสำหรับปกป้องผิวคอนกรีตจากการทำลายของน้ำ ความชื้น กรด-ด่างและสารเคมี ด้วยคุณสมบัติที่แข็งเหมือนคอนกรีตและทนทาน พื้น PU มีคุณสมบัติพิเศษที่พื้น EPOXY ไม่มีคือ การยอมให้ความชื้นไหลผ่านตัวฟิล์มสีนั้นคือเป็นข้อเด่นของพื้นพียูเพราะมันจะไม่มีการบวม

พื้นพียู (พื้น PU : Polyurethane Floor System) มี  3 ประเภทตามความหนาความหนาของฟิล์มสี คือ

     1. พื้นพียูแบบบาง PU-LF มีความหนา 1.5-2 มิลลิเมตร เหมาะกับการใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา ห้อง Clean Room และห้องทดลอง มีคุณสมบัติทางเคมี เช่น ทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมีตัวทำละลายทินเนอร์และความชื้นได้ดี ที่สำคัญคือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นพียูประเภทเดียวกัน

     2. พื้นพียูแบบปานกลาง PU-MF มีความหนา 3-4 มิลลิเมตร เหมาะกับการใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เครื่องดื่ม พื้นพียูชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่หนักได้ ทนต่อการขีดข่วนและการกระแทกได้ดี มีคุณสมบัติทางเคมี เช่น ความทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมีและความชื้นได้ดี ที่สำคัญคือมีราคาย่อมเยาเมื่อเทียบกับพื้นพียูประเภทเดียวกัน

     3. พื้นพียูแบบหนามาก มีความหนา 5-10 มิลลิเมตร เหมาะกับการใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเคมี อาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง ลานโหลดสินค้า แท่นวางเครื่องจักร ทนทนต่อการขีดข่วนและการกระแทกได้มากขึ้น มีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี

     พื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) คือ พื้นปูนซีเมนต์ที่ทาทับด้วย EPOXY โดยปกติจะเห็นเป็นสีแดง สีฟ้า สีเหลือง และสีเขียว มักพบตามห้างสรรพสินค้าโดยเฉพาะช่องจอดรถพิเศษ เช่นของคนพิการ มักจะใช้พื้นอีพ็อกซี่เข้ามาทำเป็นที่จอดรถเพื่อให้เป็นจุดเด่น และสังเกตกันได้ง่าย หรือบางทีก็จะใช้พื้น EPOXY ทำเป็นเส้นตัดขอบถนน ทำเป็นสัญญาลักษณ์การจราจรต่างๆ นิยมนำมาทำเป็นพื้นสนามกีฬาตามโรงเรียน นำมาทำเป็นพื้นโรงพยาบาล ทำเป็นพื้นกันซึม ทำเป็นพื้นโชว์รูมรถยนต์ ทำเป็นพื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นสนามแบดมินตัน และพื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้น Epoxy  ก็ยังนิยมนำมาทำเป็นพื้นห้องเย็น พื้นโรงอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม และอีกมากมาย

พื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) มี 3 ประเภท คือ

     1. Water Base หรือ Epoxy Coating (ผสมน้ำ) จะมีลักษณะฟิล์มสีบางเป็นผิวเปลือกส้ม ไม่มีกลิ่นฉุน ป้องกันการเกิดฝุ่นในชั้นคอนกรีต พื้นอีพ็อกซี่ชนิดนี้จะไม่ทนต่อรอยขีดข่วน

     2. Solvent Base หรือ Epoxy Coating (ผสมทินเนอร์) จะมีลักษณะฟิล์มสีบางเป็นผิวเปลือกส้ม มีกลิ่นฉุน ทนรอยขูดขีดได้ในระดับหนึ่ง ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ พื้นชนิดนี้เหมาะกับพื้นที่ใช้งานไม่หนักมาก

     3. Solvent Free หรือ Epoxy Self – Leveling ฟิล์มสีจะหนา ลักษณะเป็นฟิล์มผิวเรียบ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี ป้องกันความเสียหายของคอนกรีตที่เกิดจากการซึมของน้ำ น้ำมัน เหมาะกับบริเวณพื้นที่ใช้งานหนัก​

     ทำไมพื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) ถึงพองตัว เนื่องจาก พื้น EPOXY เป็นพื้นที่มีลักษณะฟิล์มปิด 100% เมื่อมีน้ำ น้ำมัน หรือของเหลวหกลงบนพื้นผิวด้านบน จะไม่ซึมเข้าสู่พื้นคอนกรีตด้านล่าง แต่หากพื้นมีความชื้นจากพื้นผิวคอนกรีต ความชื้นนั้นจะไม่สามารถระเหยออกมาได้ จึงทำให้เกิดการสะสมและดันพื้น EPOXY ทำให้เกิดการบวมพอง และเกิดการหลุดร่อนในที่สุด

     สรุปคือ พื้นพียู (พื้น PU) มีลักษณะที่ผิวด้าน และทนอุณหภูมิ ร้อน เย็น ที่เปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าพื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY)      สามารถดูแลเรื่องการทำความสะอาดง่าย เช่น โรงน้ำแข็ง โรงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ ทางเท้า ฟุตบาท เป็นต้น จะมีคุณลักษณะการแสดงออกต่อสารเคมีที่แตกต่างกัน เช่น พื้นพียู (พื้น PU ) เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักมีกรดแลกติกอยู่ในสิ่งแวดล้อม นี่จึงเป็นเหตุที่อุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำงานเกี่ยวกับนม ผลิตภัณฑ์จากนม และชีส จึงเลือกใช้พื้นพียู (พื้น PU)  ในขณะที่พื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมดังกล่าวจะถูกกัดกร่อนและซีดเหลือง พื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) เหมาะสำหรับการสร้างความหนาให้กับพื้น จากนั้นจึงทาตามด้วยการเคลือบโพลียูรีเทนเพื่อการเคลือบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อปกป้องพื้นผิว มันจะช่วยปกป้องพื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) จากการซีดเหลือง และจะช่วยให้พื้นผิวทนต่อการสึกหรอและรอยขีดข่วนได้นาน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้