5 วัสดุในการปิดโพรงใต้บ้าน แก้ปัญหาโพรงใต้บ้าน พื้นรอบบ้านทรุด

6552 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 วัสดุในการปิดโพรงใต้บ้าน แก้ปัญหาโพรงใต้บ้าน พื้นรอบบ้านทรุด

     หลายๆ บ้านมักจะเจอปัญหาดินรอบๆ บ้านเป็นรู ดินทรุด เป็นโพรงใต้บ้าน ซื้อบ้านมาได้ไม่กี่ปี ทำไมสนามหญ้ารอบบ้าน เกิดเป็นรู เป็นโพรงใต้บ้าน จนบางคนนึกกว่าบ้านทรุด โครงสร้างบ้านมีปัญหา แต่จริงๆ แล้ว บ้านไม่ได้ทรุด โครงสร้างบ้านไม่ได้มีปัญหา เพราะมาตรฐานการก่อสร้างบ้านจะมีเสาเข็มรองรับอยู่ แต่สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา ดินทรุด โพรงใต้บ้าน ก็คือมาตรฐานการถมดิน การบดอัดดิน ที่ไม่แน่นเพียงพอตามมาตรฐาน จึงทำให้ระยะเวลาผ่านไป ดินรอบๆ บ้าน เกิดปัญหา ดินทรุด โพรงใต้บ้าน

เป็นโพรงใต้บ้าน

     พื้นขอบคันหินปิดโพรงใต้บ้าน คือ วิธีแก้ไขเบื้องต้นสำหรับปัญหาดินทรุดจนเกิดโพรงใต้บ้าน ที่สามารถทำได้เองอย่างรวดเร็ว สวยงาม และต้นทุนไม่สูงนัก ซึ่งปัญหาดินทรุดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับบ้านทุกหลัง อาจทรุดมากทรุดน้อยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ที่อยู่อาศัย และแม้จะไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง แต่ก็ดูไม่สวยงาม ทั้งนี้อาจมีสัตว์เลื้อยคลานเข้ามาร่วมอยู่อาศัยในโพรงใต้บ้านได้ จะใช้ในกรณีดินรอบบ้านทรุดตัวไม่มากหรือทรุดประมาณ 10-20 ซม. โดยพื้นที่โดยรอบบ้านเป็นสนามหญ้าหรือเป็นพื้นดิน แนะนำให้ปิดโพรงแบบชั่วคราวไปก่อน เช่น วางกระถางต้นไม้ทรงเหลี่ยมมาเรียงเพื่อบังโพรง ก่ออิฐปิดทับโดยใช้แผ่นโฟมคั่นระหว่างก้อนอิฐกับตัวบ้าน วางอิฐบล็อกหรือเลือกใช้ขอบคันหินเพื่อปิดโพรงใต้บ้าน ซึ่งการเลือกใช้ขอบคันหิน สามารถสร้างลูกเล่นได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทาสีตามที่เราชอบ หรือหากมีพื้นที่มากพอก็สามารถวางขอบคันหิน 2 แถวล้อมเป็นกระบะใส่ดินปลูกต้นไม้เล็กๆ เพิ่มความสวยงามสดชื่นรอบบ้านอีกด้วย
พื้นขอบคันหินปิดโพรงใต้บ้าน
     สำหรับบ้านที่ดินทรุดไม่เกิน 13 ซม. แนะนำให้ใช้ขอบคันหินขนาดที่สูง 20 ซม. ส่วนพื้นดินรอบบ้านที่ทรุดไม่เกิน 23 ซม. แนะนำให้ใช้ขอบคันหินที่มีความสูง 30 ซม.

ขั้นตอนการปูขอบคันหินเพื่อปิดโพรงใต้บ้าน

  1. นำเศษใบไม้บริเวณที่จะปูขอบคันหินออก
  2. เกลี่ยดินให้ได้ระดับ
  3. วางขอบคันหินและขอบเข้ามุมโดยต่อชนชิดกัน 1 แถวหรือ 2 แถวซ้อนอีกชั้นเพื่อทำเป็นกะบะต้นไม้
  4. ใส่ดินภายในบริเวณขอบคันหิน
  5. นำต้นไม้ ดอกไม้ปลูกตามที่ต้องการ และรดน้ำให้เรียบร้อย
     พื้นคอนกรีตปิดโพรงใต้บ้าน เป็นการนำนวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับการเติมโพรง จาก CPAC Construction Solution โดยใช้วัสดุที่มีความไหลลื่นสูง พร้อมคุณสมบัติการก่อตัวที่แข็งแรงแต่น้ำหนักเบา ไม่เร่งการทรุดตัวของดินเดิม เข้าเติมเต็มโพรงได้อย่างทั่วถึง ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวของวัสดุ FillGood ทำให้มั่นใจได้ว่าโพรงใต้บ้านจะได้รับการเติมเต็มอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาดินสไลด์เข้าใต้บ้าน เรื่องน้ำขัง และหมดกังวลเรื่องสัตว์เลื้อยคลานที่จะมาก่อกวนหรือสร้างรังใต้โพรงบ้าน ที่สำคัญต้องใช้เป็นช่างหรือวิศวกรมืออาชีพที่จะช่วยประเมินตรวจสอบ รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาก่อนลงมือปฏิบัติอีกด้วย

ขั้นตอนการปิดโพรงใต้บ้านด้วยการเทคอนกรีต 

     1. ทีมวิศวกรสำรวจหน้างานตรวจสอบความลึกของโพรงด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม และทันสมัย เพื่อประเมินปริมาณวัสดุ Fillgood ที่จะเติมโพรง
     2. เทวัสดุ Fillgood ใช้วัสดุส่วนผสมพิเศษ น้ำหนักเบา ไหลลื่นดี โดยการใช้เครื่องปั๊มเทวัสดุ Fillgood เข้าไปใต้โพรงจนเต็ม
     3. ทำความสะอาดและปรับสภาพหน้างานให้เรียบร้อย สวยงาม

ปิดโพรงใต้บ้านด้วยการเทคอนกรีต

     แผ่นสมาร์ทบอร์ดปิดโพรงใต้บ้าน เป็นการปิดโพรงรอบบ้านด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ดชนิดหนาพิเศษ พร้อมยึดแผ่นติดกับคานบ้านเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน นอกจากนี้ยังสามารถทาสีแผ่นสมาร์ทบอร์ดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบบ้านเพื่อเพิ่มความสวยงามได้อีกด้วย โดยแผ่นสมาร์ทบอร์ดมีให้เลือกด้วยกัน 2 ขนาด คือขนาดหน้ากว้าง 40 ซม. และ 60 ซม. ทำให้สามารถเสียบลึกลงไปในดินได้ในระดับที่เหมาะสมและสามารถช่วยป้องกันดินสไลด์ในอนาคตได้อีกด้วย โดยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับโพรงขนาดเล็ก ระดับพื้นดินทรุดจากท้องคานไม่เกิน 20 ซม. แต่ถ้าโพรงขนาดใหญ่ ระดับพื้นดินทรุดจากท้องคานไม่เกิน 50 ซม. จะใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จแทน

ขั้นตอนของการใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดปิดโพรงใต้บ้าน

     1. เตรียมพื้นที่บริเวณที่เป็นโพรง ให้สะดวกต่อการซ่อมแซม
     2. ขุดร่องด้านข้างตามแนวโพรง กว้าง 30 ซม. ลึก 30-40 ซม. พร้อมกับตีเส้นระดับของขอบแผ่นสมาร์ทบอร์ด กรณีที่เมื่อขุดไปแล้วพบเศษเนื้อปูน (ที่ไม่ได้ใช้รับแรงใดๆ) ของคาน บานออกมากินแนวที่จะเรียงแผ่นสมาร์ทบอร์ด ให้ทำการสกัดหรือเจียรออกจนได้แนวที่เรียบพอที่จะเรียงแผ่นสมาร์ทบอร์ด
     3. สำหรับโพรงขนาดเล็กจะใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ด หนา 10 มม. เพื่อมาเป็นไม้แบบ โดยนำมาตัดให้ได้ความกว้าง 40 ซม. (แต่ถ้าบ้านไหนมีโพรงขนาดใหญ่จะใช้แผ่นคอนกรีต ตัดให้มีความลึกเท่ากับระยะความสูงโพรง บวก 50 ซม. เช่น โพรงลึก 30 ซม. ก็จะได้ความยาวของแผ่นคอนกรีตเท่ากับ 30+50 = 80 ซม. ป้องกันไม่ให้มีสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์มีพิษเข้าไปอยู่อาศัย เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย)    
4. ติดตั้งแผ่นสมาร์ทบอร์ดด้วยกาวซีเมนต์ โดยทาเฉพาะแถบบริเวณที่จะพิงกับคานตามแนวโพรง
5. นำคันดินแข็งซึ่งมีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ผสมทราย เทลงไปในร่องที่ขุดไว้ให้เต็ม พรมน้ำพอหมาด จากนั้นบดอัดให้แน่นทำการตกแต่งเก็บความเรียบร้อยบริเวณขอบแผ่นสมาร์ทบอร์ด
ใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดปิดโพรงใต้บ้าน
     แผ่นพีวีซี (PVC) ปิดโพรงใต้บ้าน เป็นวิธีสำหรับการป้องกันปัญหาดินทรุด ปิดโพรงใต้บ้าน ปิดโพรงรอบบ้าน โดยการใช้วัสดุเป็นแผ่นปิดโพรงใต้บ้าน คือ ใช้แผ่นพีวีซี (PVC) ปิดโพรงแบบตัน ที่มีความแข็งแรง สามารถรับแรงดันดินได้เป็นอย่างดี มีคุณสมบัติทนน้ำ ทนความร้อน และทนสารเคมีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ตัวแผ่นมีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม/เมตร สามารถยึดแผ่นพีวีซีปิดโพรงกับคานคอดินบ้านได้ ไม่ส่งผลกระทบต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้างเดิม

ขั้นตอนการใช้แผ่นพีวีซี (PVC) ปิดโพรงใต้บ้านแบบตัน
     1. ขุดดินรอบบ้านลึกประมาณ 50 ซม. หรือขุดให้ลึกกว่าระดับโพรงใต้บ้านเดิมประมาณ 20 ซม.
     2. ทำการวัดความลึกของแนวขุดและทำการตัดแผ่น โดยเผื่อระยะทาบกับคานคอดินเพิ่มอีก 10 ซม.
     3. จัดระดับแนวแผ่นพีวีซี (PVC) ให้เรียงตัวต่อกันสม่ำเสมอ เพื่อความสวยงามและยึดแผ่นพีวีซีปิดโพรงใต้บ้าน ด้วยพุกเหล็ก ระยะห่างประมาณ 30-40 ซม./จุด
     4. นำดินที่ขุดขึ้นมา กลบกลับลงไปและทำการบดอัดดิน ด้วยเครื่องตบดิน ทำซ้ำหลายๆ รอบให้ดินอัดแน่นมากที่สุด
     5. กรณีที่ระดับดินต่ำกว่าขอบแผ่นพีวีซี (PVC) ปิดโพรงใต้บ้าน แนะนำให้ทำการถมดิน ถมทราย ปรับระดับ ปลูกหญ้า หรือ วางแผ่นปูทางเดิน โรยหินตกแต่ง เพิ่มเติม

     เสาเข็มไมโครไพล์ ปิดโพรงใต้บ้าน หลายๆ บ้านมักชอบต่อเติมหลังบ้าน ลาดจอดรถหน้าบ้าน ลานซักล้าง และพื้นที่นั่งเล่น ให้เชื่อมต่อกับตัวบ้านโดยพื้นที่ต่อเติม บางครั้งไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ เมื่อพื้นดินบริเวณเกิดการทรุดตัว จึงทำให้ดึงโครงสร้างบ้านเดิมให้เกิดการแตกร้าว และเกิดความไม่สม่ำเสมอของระดับพื้น ดังนั้น หากต้องการต่อเติมพื้นที่ต่างๆ ควรตอกเสาเข็ม ให้ถึงชั้นดินแข็ง หรือลงให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดปัญหาพื้นดินทรุดตัว และเกิดเป็นโพรงใต้บ้าน หรือควรก่อสร้างส่วนต่อเติมกับโครงสร้างตัวบ้านแยกออกจากกันโพรงใต้บ้าน เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อโครงสร้างบ้านเป็นหลักโดยวิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมความสามารถในการรับนํ้าหนักให้กับโครงสร้างที่มีการทรุดตัวและแก้ปัญหาบ้านทรุดโดยเฉพาะ โดยเสาเข็มจะถูกกดลงไปยังชั้นดินแข็งเพื่อให้สามารถรับนํ้าหนักของโครงสร้างได้

เสาเข็มไมโครไพล์ ปิดโพรงใต้บ้าน


     เสาเข็มไมโครไพล์ คือ เป็นเสาเข็มขนาดเล็กแต่ละท่อน มีความยาวเพียง 1.50 เมตร ที่ใช้นวัตกรรมทางวิศวกรรมที่คิดค้นมาเพื่อการต่อเติม หรือก่อสร้างฐานรากใหม่ ที่ต้องการความแข็งแรงสูง เพื่อแก้ไขปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างโดยเฉพาะ เสาเข็มไมโครไพล์ผลิตโดยกรรมวิธีหล่อแบบพิเศษทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดาจึงมีความแข็งแกร่งอย่างมาก สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 10 – 55 ตัน/ต้น ตามแต่ละประเภทของเสาเข็ม เช่น เสาเข็ม Square Micropile, Spun Micropile, I Micropile จึงเหมาะสมกับการปรับปรุงซ่อมแซมฐานรากที่เกิดการทรุดตัว หรือส่วนที่ต้องการต่อเติมทำให้มีความแข็งแรงมั่นคงกับฐานราก

ขั้นตอนการติดตั้งเสาเข็มไมโครไพล์ปิดโพรงใต้บ้าน

  1. ตรวจสอบตำแหน่งที่จะลงเสาเข็มไมโครไพล์ ตามที่ผู้รับเหมากำหนดไว้
  2. ขนย้ายเครื่องตอกและเสาเข็มโครไพล์เข้าพื้นที่หน้างานและเคลื่อนย้ายเครื่องตอกเข้าตำแหน่งที่กำหนด
  3. ตอกและเชื่อมต่อเสาเข็มไปเรื่อย ๆ จนถึงชั้นดินดาน
  4. ทำการเช็คค่า Last 10 Blow ให้ได้ตามที่วิศวกรกำหนด
  5. ตอกเสาเข็มต่อไปให้ครบทุกจุด
  6. ผู้รับเหมาสามารถเข้ามาทำงานฐานรากต่อได้ทันที

ปัญหาลุกลามที่จะเกิดต่อจากปัญหา ดินทรุด โพรงใต้บ้าน

  1. ท่อน้ำรั่วซึม ค่าน้ำสูงผิดปกติ เพราะดินที่ทรุด ดึงรั้งให้ท่อประปาแตกหรือรั่วซึมได้
  2. โพรงใต้บ้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ร้าย เช่น งู ตัวเงินตัวทอง และหนู เป็นต้น
  3. มีโอกาสทำให้คนหรือสัตว์เลี้ยง เกิดอุบัติเหตุได้
  4. แผ่นปูทางเดิน เกิดการเสียระดับ เป็นแอ่ง เป็นเนิน ทำให้บ้านไม่สวยงาม
  5. ปัญหาที่จอดรถ เกิดการแตกร้าว

ปืดโพรงใต้บ้านพร้อมบริการปูหญ้า

 

บทความเกี่ยวกับโพรงใต้บ้าน  

ค่าบริการปิดโพรงใต้บ้าน

ตัวอย่างงานปิดโพรงใต้บ้าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้