1430 จำนวนผู้เข้าชม |
4 วิธีการปิดโพรงใต้บ้าน ปิดโพรงแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ปัญหาโพรงใต้บ้าน ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาดินทรุดตัวทางธรรมชาติ ซึ่งปกติพื้นดิน มีโอกาสที่จะทรุดได้อยู่แล้ว แต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย ในบางกรณีหากละเลยอาจส่งผลให้บ้านทรุดในภายหลังได้ หรือหากการก่อสร้างนั้นเพิ่งมีการถมดินที่ยังทิ้งระยะเวลาไม่นานนัก ดินที่ถมใหม่ยังไม่แน่นพอ เมื่อผ่านฝนไปอีก 2-3 ปี จะมีการทรุดเพิ่มภายหลัง และเมื่อดินทรุดมากขึ้นเรื่อยๆ จะเริ่มมองเห็นฐานรากของบ้าน เสี่ยงต่อการที่บ้านทรุด จึงเกิดเป็นโพรงดินใต้บ้าน หากระบบฐานรากออกแบบไว้ดีแล้ว จะไม่ส่งผลกระทบใดกับตัวบ้าน มีเพียงปัญหาดินเป็นโพรงเท่านั้น
ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นดินแล้วย่อมมีการทรุดตัวอยู่เสมอ “พื้นรอบบ้าน” ก็เช่นเดียวกัน เมื่อใช้งานไปสักระยะมักจะพบว่าเกิดการทรุดตัวเร็วมาก (เมื่อเทียบกับตัวบ้านซึ่งมีเสาเข็มรองรับ) ปัญหาคือ เมื่อพื้นรอบบ้านทรุดตัวต่ำกว่าระดับคานบ้าน จะทำให้เกิดโพรงใต้บ้านเป็นช่องโหว่ขึ้น ซึ่งแม้จะไม่อันตรายต่อโครงสร้างแต่ก็ดูไม่สวยงาม ทั้งยังน่าระแวงว่าจะเป็นช่องทางให้สัตว์ต่าง ๆ มุดเข้าไปหลบซ่อน และวันดีคืนดีอาจโผล่ออกมาก่อกวนหรือทำอันตรายสมาชิกในบ้านได้ ดังนั้น หากบ้านใดมีโพรงลักษณะนี้ก็หาวิธีปิดโพรงให้เรียบร้อยจะดีกว่า โดยวิธีการปิดโพรงใต้บ้าน มีดังนี้
1. ใช้ขอบคันหินหรือกระถางต้นไม้มาปิดบริเวณโพรงใต้บ้าน วิธีนี้เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ที่ไม่ยุ่งยากและสามารถทำได้ด้วยตนเอง เพียงนำก้อนหิน กระถางต้นไม้ หินแต่งสวน ไปฝังพื้นตกแต่งสวน ขอบคันหิน หรืออุปกรณ์ตกแต่งสวนอื่นๆ ทรงสี่เหลี่ยมมาวางเรียงกันเพื่อปิดโพรงใต้บ้าน แล้วจัดพื้นที่ให้กลายเป็นสวนต้นไม้ขนาดย่อม ให้สวยงาม สามารถเลือกออกแบบได้ตามสไตล์ของเราชอบอีกด้วย นับเป็นการสร้างบรรยากาศใหม่ๆ และเป็นงานอดิเรกให้เพลิดเพลินอีกทางหนึ่งได้ด้วย ทั้งนี้ หากในอนาคตพบว่าอัตราการทรุดตัวลดลงจนแทบไม่ทรุดแล้ว ค่อยเปลี่ยนมาแก้ไขแบบถาวรโดยใช้วิธีปรับระดับพื้นดินเพิ่มอีกครั้ง
ข้อดี
ข้อเสีย
ข้อเสีย
3. การปรับระดับพื้นดิน สามารถแก้ไขปัญหาได้ถาวร แต่จะมีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายในการจัดการที่สูง ซึ่งปกติแล้วการทรุดตัวของดินจะอยู่ที่ 10 เซนติเมตร ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยทำการถมดินให้สูงกว่าโพรงใต้บ้าน กรณีพื้นที่ดังกล่าวมีการปูวัสดุตกแต่ง ให้รื้อออกให้หมด และทำการปรับหน้าดินด้วยการถมทรายหรือดินให้แน่น หรืออาจจะใช้ยางมะตอยสำเร็จรูปแก้ปัญหาโดยเทลงไปในพื้นทรุดตัวหรือหลุมแตก (ไม่แนะนำให้เติมดินหรือทรายลงใต้โพรงบ้าน เพราะจะทำให้เสาเข็มรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอาจทำให้ตัวบ้านเกิดความเสียหายได้)
ข้อดี
4. ตอกเสาเข็มเพื่อชะลอการทรุดตัว หลายๆ บ้านมักชอบต่อเติมหลังบ้านให้เชื่อมต่อกับตัวบ้านโดยพื้นที่ต่อเติม บางครั้งไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ เมื่อพื้นดินบริเวณเกิดการทรุดตัว จึงทำให้ดึงโครงสร้างบ้านเดิมให้เกิดการแตกร้าว และเกิดความไม่สม่ำเสมอของระดับพื้น จึงต้องทำการตอกเสาเข็มที่วิศวกรรมที่คิดค้นมาเพื่อการต่อเติม หรือก่อสร้างฐานรากใหม่ นั่นก็คือที่เรียกว่า เสาเข็มไมโครไพล์ จึงเหมาะสมกับการปรับปรุงซ่อมแซมฐานรากที่เกิดการทรุดตัว หรือส่วนที่ต้องการต่อเติมทำให้มีความแข็งแรงมั่นคงกับฐานราก
ข้อดี