แนวทางการเลือกใช้รั้วลวดหนามและเทคนิคในการติดตั้งรั้วลวดหนาม

3052 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แนวทางการเลือกใช้รั้วลวดหนามและเทคนิคในการติดตั้งรั้วลวดหนาม

      จุดเริ่มต้นของลวดหนาม รั้วลวดหนามผลิตด้วยลวดพันกับหนาม ลวดหนามเริ่มมีใช้ในยุค ค.ศ. 1800 มีลักษณะแหลมและราคาถูก ลวดหนามแบบพื้นฐาน ที่มีลวดหนาม 2-4 แฉก จากการใช้งานพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพสูง และเป็นที่นิยมมาก รั้วลวดหนามถูกนำมาใช้เพื่อไม่ให้ผู้คน และสัตว์เข้า-ออกจากพื้นที่ อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ในการเลี้ยงปศุสัตว์หลายสายพันธุ์ เนื่องจากพวกสัตว์จะไม่เข้าไปใกล้รั้วอีก เพราะว่าหนามทำให้เจ็บ รั้วลวดหนามถูกใช้ไปทั่วโลก และสามารถใช้รวมกับผลิตภัณฑ์รั้วประเภทอื่นได้อีกด้วย

      รั้วลวดหนามมีหลายเบอร์ ซึ่งในประเทศไทยนิยมใช้เบอร์ 13-15 (ตามมาตรฐาน SWG) แต่ละเบอร์จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดไม่เท่ากัน โดยเบอร์ที่มากกว่าจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าเบอร์ที่น้อยกว่า ได้แก่

  • เบอร์ 10 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.20 มม.
  • เบอร์ 11  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.00 มม.
  • เบอร์ 12 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.65 มม.
  • เบอร์ 13 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.40 มม.
  • เบอร์ 14 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.00 มม.
  • เบอร์ 15 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.80 มม.

ลวดหนามในปัจจุบัน มีรูปแบบการพันหนามอยู่ 2 แบบ คือ

  1. การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional) เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต
  2. การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist) เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ ที่มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ ตัวหนามจะแน่นเป็นพิเศษ แข็งแรง ที่สำคัญเส้นลวดจะมีการพันสลับที่แน่นกว่าแบบพันเกลียวธรรมดา ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของลวดหนามที่พันเกลียวด้วยลักษณะนี้

      ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีการเคลือบสารกันสนิม หรือการชุบซิงค์ของลวดหนาม ลวดหนามซิงค์อลู นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่แก้ปัญหาเรื่องของลวดหนามเป็นสนิม ทำให้ต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมลวดหนามแบบเดิมอยู่บ่อยครั้ง ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน ผลิตจากลวดทนแรงดึงสูงที่มีคุณสมบัติเป็นลวดกึ่งสปริง มีความแข็งแรง คงทน ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย สามารถรับแรงปะทะหรือแรงกระแทกได้สูงสุดถึง 1100-1200 นิวตัน/ตร.ม. ซึ่งจุดเด่นของการใช้ลวดแรงดึงสูงทำให้ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนสามารถใช้เสารั้วระยะห่าง 4 เมตร โดยที่ขึงตึง ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย ดังนี้

      การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electro Galvanized) คือ กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเกลือของโลหะ แล้วทำให้อิออนบวกวิ่งมารับประจุไฟฟ้าลบที่ชิ้นงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ จึงทำให้เกิดเป็นชั้นผิวบางของโลหะมาเคลือบอยู่บนผิวด้านนอกของชิ้นงานการชุบซิงค์ จัดอยู่ในประเภทการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ซึ่งการเคลือบในลักษณะนี้จะมีผิวเคลือบซิงค์ที่ค่อนข้างบางมาก ทำให้อายุการใช้งานของการชุบแบบนี้ อยู่ได้ไม่นานมากนัก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-12 เดือน

      การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน ( Hot-Dipped Galvanized) ปกติลวดหนามที่มีจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนมากแล้วชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน แต่จะชุบเพียงแค่ 20- 50 กรัม ซึ่งเฉลี่ยแล้วสามารถทนสนิมได้นานแค่ 1-2 ปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นปริมาณที่น้อยเกินไป ปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีกระบวนการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษขึ้นมาเฉลี่ย 235-250 กรัม/ตารางเมตร ลวดหนามที่มีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษทำให้มีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 30 – 50 ปี

      การชุบซิงค์อลูมิเนียม (ZnAl) เป็นการป้องกันสนิมที่มีส่วนผสมของซิงค์และอลูมิเนียม ทั้งนี้จะมีการระบุสัดส่วนและปริมาณอลูมิเนียมที่ผสม ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดคือ ซิงค์อลู 10% เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน และเพิ่มอายุการใช้งานของเส้นลวดหนาม ทำให้ลวดหนามซิงค์อลูมีอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 80 ปี

วิธีการติดตั้งลวดหนาม

  1. ตั้งเสาให้แข็งแรง สามารถใช้ได้กับเสาทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้ เสาปูน เสาเหล็กก็สามารถใช้กับลวดหนามได้  การติดตั้งเสาต้นแรกหรือต้นสุดท้ายควรมีการทำค้ำยันทำทุกระยะ 30-50 เมตร เพื่อป้องกันการล้มของเสา ส่วนรากฐาน ควรขุดหลุมเทปูน ให้เรียบร้อยป้องกันการโยกของเสาแต่ละต้น ส่วนระยะห่างของลวดหนามควรอยู่ที่ 2-2.5 เมตร/ต้น แต่ถ้าหากเป็นลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนระยะเสารั้วสามารถห่างได้ถึง 4-5 เมตร/ต้น
  2. หลังจากที่ตั้งเสาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการติดตั้งลวดหนามกับเสาที่ได้จัดเตรียมไว้ โดยปกติการติดตั้งลวดหนาม จะดึงทีละต้นโดยใช้ชะแลงเป็นตัวช่วยดึงลวดหนามให้ตึง หากไม่ดึงให้ตึงแล้ว อนาคตอาจจะทำให้ลวดหนามหย่อนยานและหลุดได้
  3. ยึดลวดหนามติดกับเสา โดยมีหลายวิธี เช่น ใช้ตะปูตอกพับระหว่างเสากับลวดหนามและการใช้กิ๊บลวดหนามล็อคระหว่างเสากับลวดหนาม โดยปกติเสาจะมีรูให้สำหรับใส่ตัวกิ๊บล็อคลวดหนามอยู่แล้ว ทำให้สามารถตอกกิ๊บลงไปในรู ส่วนอีกฝั่งทำการตีล็อคป้องกันการหลุดได้ หรือจะเป็นการใช้ลวดผูกระหว่างเสากับตาข่าย โดยวิธีนี้ถือว่าทนและแข็งแรง ไม่มีหลุดสามารถใช้ลวดทั่วไปผูกได้
ประโยชน์ของการเลือกใช้รั้วลวดหนาม
  1. การล้อมรั้วด้วยลวดหนาม สามารถป้องกันการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่บ้าน และภายในที่ดินจากบุคคลภายนอก
  2. เป็นการป้องกันอันตรายและป้องกันการโจรกรรมทั้งที่ดินและทรัพย์สินภายในบ้าน
  3. สามารถล้อมกั้นสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ ไม่ให้เข้ามาให้พื้นที่เราได้ ป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากสัตว์ได้ อย่างน้อยๆ ก็ป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นเข้ามา ถ่ายของเสียในที่ของเรา
  4. รั้วลวดหนามถือว่าเป็นรั้วที่มีต้นทุนที่ถูกที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งถ้าเทียบกับรั้วประเภทอื่น จึงเป็นที่นิยมตามต่างจังหวัดที่นำรั้วลวดหนามไปใช้ล้อมพื้นที่ ที่ไม่ใช้บ้าน เป็นที่ดินเปล่า ที่นา สวน ฯลฯ เพียงแค่ต้องการกั้น หรือล้อมเพื่อเป็นอาณาเขตเพียงเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้รั้วที่ราคาแพง แข็งแรงอะไรมาก ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการเลือกใช้รั้วคาวบอยและเทคนิคในการติดตั้งรั้วคาวบอย

แนวทางการเลือกใช้รั้วสำเร็จรูปและเทคนิคในการติดตั้งรั้วสำเร็จรูป

แนวทางการเลือกใช้รั้วลวดหนามและเทคนิคในการติดตั้งรั้วลวดหนาม

แนวทางการเลือกใช้รั้วตาข่ายถักและเทคนิคในการติดตั้งรั้วตาข่ายถัก

แนวทางการเลือกใช้รั้วไวร์เมชและเทคนิคในการติดตั้งรั้วไวร์เมช

รั้วบ้าน ทำรั้วบ้านเองหรือรั้วสำเร็จรูป ข้อแนะนำในการทำรั้วบ้านจากวงศ์กูรู

จุดเด่นของรั้วแต่ละประเภท เลือกรั้วอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน

แนวทางการเลือกใช้กำแพงดินและเทคนิคในการติดตั้งกำแพงดิน

แนวทางการเลือกใช้รั้วเมทัลชีทและเทคนิคในการติดตั้งรั้วเมทัลชีท

ราคาบริการติดตั้งรั้ว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้