ตู้คอนโทรล ตู้ควบคุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ตู้คอนโทรล ตู้ควบคุม แต่ละประเภท

3516 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตู้คอนโทรล ตู้ควบคุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ตู้คอนโทรล ตู้ควบคุม แต่ละประเภท

          ตู้ควบคุม Automatic Transfer Switch หรือเรียกย่อๆ ว่า ATS เป็นระบบที่ใช้ในการสับเปลี่ยนแหล่งจ่ายที่ใช้งานตามปกติ เป็นระบบจากแหล่งจ่ายไฟภายใน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล ในสภาวะฉุกเฉินอย่างกรณีไฟฟ้าดับ ไฟตก หรือเกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ ตู้ ATS ก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ท จนได้ความถี่ และแรงดันที่กำหนด ก็จะเปลี่ยนระบบการทำงานไปที่ฝั่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทันที และเมื่อไฟฟ้ากลับมาเป็นปกติ ระบบก็จะสั่งให้เปลี่ยนกลับมาใช้ไฟจากการไฟฟ้าปกติและสั่งดับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้อัตโนมัติ นอกจากนี้ตู้ ATS ยังมีแบบ Manual Switch คือ เมื่อไฟฟ้าดับ ต้องทำการสับ MCCB ด้วยคนเพื่อเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแทน และเมื่อไฟฟ้าเป็นปกติก็สับกลับมาเป็นใช้ไฟจากการไฟฟ้าตามเดิม โดยระบบ ATS (Automatic Transfer Switches) มักนิยมใช้งานจำพวกสถานที่สำคัญๆ หรือโรงงานที่ใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาๆ เช่น  โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่ โรงงานที่ใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา ธนาคารสาขาใหญ่ หรือค่ายเน็ตต่างๆ เป็นต้น

          ตู้ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ Variable Speed Drive หรือ VSD เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มประสิทธภาพการทํางานของมอเตอร์ในขบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ลดต้นทุนและงานทั่วไปในระบบปั๊มน้ำและระบบระบายอากาศของงานด้านการผลิตในอุตสาหกรรม เช่น ระบบปั๊มน้ำ พัดลม และระบบปรับอากาศอาคารขนาดใหญ่ อุปกรณ์ VSD ใช้เทคโนโลยีแบบ Flux Current Control (FCC) ทําให้ประสิทธิภาพในการควบคุมไม่ให้มีการสูญเสียพลังงานความร้อนภายในตัวมอเตอร์ (Derating) และมีอุปกรณ์กําจัดสัญญาณรบกวน (Harmonic Filter) ที่เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องป้องกันการรบกวนสัญญาณที่ควบคุม และยังส่งผลดีในการประหยัดพลังงานอีกด้วย 

          ตู้คอนโทรล อินเวอร์เตอร์ Inverter Control Panel เป็นตู้ควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit ) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) โดยระบบอินเวอร์เตอร์ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น มอเตอร์ พัดลม หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ สามารถใช้ได้กับกระแสไฟฟ้าตรงสำหรับการใช้งานเปิด-ปิดมอเตอร์ และการใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับในภาคอุตสาหกรรมจึงได้มีการนำความสามารถของ Inverter มาปรับใช้กับตัวเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหลักการทำงานของอินเวอร์เตอร์จะเป็นการแปลงไฟกระแสสลับและมีการจ่ายไฟออกจากตัวกำเนิดที่มีระดับความถี่และแรงดันไฟฟ้าคงที่ เพื่อเป็นไฟกระแสตรง เป็นเหตุผลทำให้การทำงานเครื่องจักรมีความคงที่และยังสามารถทำให้จ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ได้ตลอด หากเกิดเหตุการณ์ไฟดับหรือไฟขัดข้อง เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการสตาร์ทเครื่องจักรในแต่ละครั้ง อินเวอร์เตอร์จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย

          ตู้ควบคุม เซอร์โว Servo Control Panel คือตู้ควบคุมการขับเคลื่อนของเครื่องจักรกลหรือระบบการทํางานนั้นๆ ให้เป็นไปตามความต้องการ ใช้สำหรับงานที่ต้องการควบคุมตำแหน่งความเร็ว ควบคุมแรงบิด ความแม่นยำ และความรวดเร็ว เพื่อให้เครื่องกลและไฟฟ้าคอนโทรลทำงานสอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Controller) ซึ่งคือระบบควบคุมที่มีการวัดค่าเอาต์พุตของระบบ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าอินพุตเพื่อควบคุมและปรับแต่งให้ค่าเอาต์พุตของระบบให้มีค่า เท่ากับหรือใกล้เคียงกับค่าอินพุต ในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบกระแสตรง (DC Motor) และแบบกระแสสลับ (AC Motor) ด้วยคุณสมบัติเด่นของ Servo Motor คือ สามารถให้แรงบิดที่สูง (มีหน่วยเป็นนิวตันเมตร) มีทำงานได้รวดเร็ว สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ และทำงานได้เงียบ จึงมีการนำเอา Servo Motor ไปประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลาย

          ตู้ควบคุม ปั๊มน้ำ Pump Control Panel เป็นอุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำให้ทำงานสัมพันธ์กันระหว่างระดับของบ่อพักน้ำและถังเก็บน้ำ สามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟ 1-Phase และ 3-Phase โดยมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น สั่งให้ปั๊มหยุดขณะปิดวาล์วหรือสั่งปั๊มหยุดการทำงานในขณะน้ำขาดหรือแรงดันต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเสียหายหรือปั๊มน้ำไหม้เกิดขึ้น ซึ่งเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) โดยทั่วไปจะใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ประเภทต่างๆ ในการติดตั้ง เช่น ติดตั้งโดยการใช้สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว (Level Switch) อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด (Electrode Level Switch) หรือสวิตช์ควบคุมแรงดัน (Pressure Switch) เป็นต้น โดยแบ่งออกหลักๆ เป็น 3 ประเภทตามการใช้งาน

          Booster Pump คือการรักษาแรงดันภายในระบบให้มีความคงที่สม่ำเสมอ โดยอาศัยการทำงานของ Pressure Switch เป็นตัวตัดต่อการทำงานระบบ Booster pump ที่นิยมกันจะเป็นแบบทำงานสลับ และเสริมช่วยอีกตัวเพื่อใช้ปรับตั้งแรงดันตามความต้องการ ประกอบด้วยปั๊มน้ำจำนวน 2 ตัว สลับการทำงานและเสริมช่วยการทำงาน

          Transfer Pump คือ รับ-ส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง หรือจากบ่อด้านล่างส่งไปบ่อด้านบน นิยมใช้กันมากในอะพาร์ตเมนต์ แมนชั่น หรืออาคารตึกสูง คอนโดฯ ประกอบด้วยปั๊มน้ำจำนวน 2 ตัว สลับการทำงานและเสริมช่วยการทำงาน ในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีปั๊มอีกตัวเพื่อช่วยกันทำงานหากปั๊มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทัน

           Drain Water Pump คือ เป็นการทำงานโดยจะวัดระดับน้ำเสียในบ่อเก็บโดยส่วนใหญ่จะใช้ลูกลอยแบบสายไฟ เนื่องจากน้ำมีความสกปรกมาก ไม่เหมาะกับก้านอิเล็กโทรด เช่น ในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีสิ่งปฏิกูลหรือน้ำเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตซึ่งจะต้องใช้ตัวปั๊มในการดูดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วทิ้งออกไป



สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ตู้ MDB ตู้สวิทซ์บอร์ด

ตู้ MCC ตู้ควบคุม

Cap Bank

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตู้สวิทซ์บอร์ด ตู้ MDB ตู้ MCC ตู้ CAP BANK เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

MDB Mian Distribtion Board ของจำเป็นของระบบไฟฟ้า

MCC Motor Control Center ของจำเป็นในการควบคุมเครื่องจักร

Cap Bank (Capacitor Bank) ของดีมีไว้เพื่อประหยัดไฟ

ตู้คอนโทรล PLC ตู้ควบคุมระบบพีแอลซี (PLC Control Panel) คืออะไร

ขนาดตู้คอนโทรล ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้ไฟมาตรฐาน

ขนาดตู้คอนโทรล ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้ไฟกันน้ำ

ขนาด ตู้คอนโทรล ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้ไฟสแตนเลส

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้