8044 จำนวนผู้เข้าชม |
10 ประเภทไม้อัด คุณสมบัติไม้อัด ประโยชน์ไม้อัด การใช้งานไม้อัดแตกต่างกันยังไง
ไม้อัดหรือไม้แต่ละประเภทนั้นมีกระบวนการผลิตและวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ไม้มีผิวสัมผัสที่ต่างกัน และมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไปด้วย สามารถนำไปปิดผิวด้วยวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ เมลามีน หรือแผ่นไฮเพรสเชอร์ลามิเนตที่มีลวดลายและผิวสัมผัสที่คล้ายไม้จริงมากๆ จึงอาจเป็นการยากในการสังเกตจากภายนอก ว่ามีคุณสมบัติเฉพาะตัวของไม้ดังกล่าวพร้อมทั้งวิธีการนำไปใช้งาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับใช้สำหรับการตกแต่งภายในหรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน
1. ไม้อัดยาง เกิดจากการนำไม้แผ่นบางที่ได้จากการปอกท่อนซุงให้เป็นแผ่นไม้บางๆ แล้วนำเอาแผ่นไม้บางหลายๆ แผ่นมาอัดกาวให้เป็นชั้นที่หนาขึ้นโดยวางแผ่นไม้ให้แนวเสี้ยนไม้ของแต่ละชั้นนั้นตั้งฉากกัน เพื่อให้มีความแข็งแรง ลวดลายของไม้ขึ้นอยู่กับแผ่นวีเนียร์ที่นำมาปิดทับที่ผิว เช่นไม้สัก บีช แอช เป็นต้น ซึ่งความหนาของไม้อัดทั่วไปจะมีให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 3, 4, 6, 10, 15 ไปจนถึง 20 มม.
คุณสมบัติของไม้อัดยาง
การใช้งานไม้อัดยาง
เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน โดยเฉพาะในบริเวณที่ต้องการโชว์เนื้อไม้ ในบางกรณีสามารถใช้ทำโครงสร้างได้ ทำป้ายโฆษณา ฉากกั้น ทำพื้น ทำผนัง ทำพาเลท และทำชั้นวางของแบบชั่วคราวแบบที่ไม่เน้นความสวยงามได้ ข้อจำกัดของไม้อัดยางทั่วไปคือมีลายให้เลือกน้อย และสวยไม่เท่าไม้อัดที่มีการปิดผิว อีกทั้งยังมีความหนาแน่นต่ำ จึงรับแรงและน้ำหนักได้น้อย ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในงานตกแต่งภายใน
2. ไม้อัดดำ ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ เป็นการอัดสลับชั้นที่อัดด้วยกาวเคลึอบฟิล์มดำกันน้ำ 2 ด้าน ปิดขอบ พ่นสีกันน้ำบริเวณขอบและใส่อัดกาวกันน้ำ กาวที่ใช้เคลือบฟิล์มมีทั้ง กาว Phenol Formaldehyde และ กาว Melamine ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำได้เหมึอนกัน โดยปกติแล้วกาว Melamine จะมีคุณสมบัติด้อยกว่า กาว Phenol Formaldehydeลักษณะหน้าฟิล์ม จะมันเงา น้ำไม่สามารถซืมผ่านได้ ซื่งแตกต่างจาก ไม้อัดยางธรรมดาทั่วไป เพราะทนทานต่อสารเคมี มีความยึดเกาะดีกว่า ใช้กับงานคอนกรีีตได้หลายครั้ง เนื่องจากการใช้กาวที่มีคุณสมบัติกันน้ำ พ่นเคลือบฟิล์ม ทั้งด้านหน้าและหลัง อย่างดี เพราะถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานเกี่ยวกับคอนกรีต
คุณสมบัติไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ
การใช้งานไม้อัดดำ ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ
สามารถใช้งานเป็นไม้แบบในงานก่อสร้าง เป็นไม้แบบเทเสาคอนกรีต ไม้แบบเทพื้นคอนกรีต ไม้แบบเทคานคอนกรีต ไม้แบบเทฐานรากคอนกรีต ไม้แบบเทส่วนต่างๆ ของคอนกรีต โดยทั้งนี้ขึ้นกับความหนาในการเลือกใช้งานตามขนาดของชิ้นส่วนคอนกรีตที่จะเท และยังเกี่ยวข้องกับค้ำยันต่างๆ เพื่อให้เกิดความคงตัวในการเทคอนกรีต ไม้อัดดำนี้ใช้งานมากในงานก่อสร้าง
3. ไม้อัดสัก คือไม้อัดที่มีกรรมวิธีการผลิตเหมือนไม้อัดปกติทุกประการ แต่ปิดผิวไม้ด้วยไม้วีเนียร์ไม้สักหรือเยื่อไม้สักนั่นเอง ทำให้ได้ลายที่สวยงามและเป็นลายไม้สักในธรรมชาติ มีขนาดมาตรฐานคือ 1,220 มม. X 2,440 มม. ความหนา 4 มม. , 6 มม. และ 10 มม.
คุณสมบัติไม้อัดสัก
การใช้งานไม้อัดสัก
ด้วยลายที่สวยงามของไม้สัก จึงนิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ บิวท์อิน ตกแต่งภายใน แบบโชว์ลายไม้ โดยจะเคลือบลายไม้ หรือไม่เคลือบก็ได้
4. ไม้ MDF (Medium Density Fiber Board) หรือไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ผลิตโดยการนำชิ้นไม้มาสับและบดจนละเอียด มาผสมกับกาวชนิดพิเศษ แล้วผ่านกระบวนการอัดเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดคุณภาพสูง ไม้ที่นำมาใช้นั้นอาจจะเป็น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา หรือไม้ชนิดอื่นขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ผิวไม้ที่ได้มีความเรียบเนียน เนื้อแน่นไม่มีรูพรุน นิยมปิดผิวด้วยเมลามีน วีเนียร์ หรือแผ่นไฮเพรสเชอร์ ลามิเนต มีความหนาตั้งแต่ 2.3 - 25 mm.
คุณสมบัติของไม้ MDF
การใช้งานไม้ MDF
เหมาะสำหรับใช้ในการตกแต่งพื้นที่ภายในทั่วไป เช่น บิ้วท์หัวเตียง เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางของ และส่วนตกแต่งอื่นๆ
5. ไม้ HMR (High Moisture Resistance Board) เป็นไม้อัดทนความชื้น ผลิตโดยการนำชิ้นไม้มาสับและบดจนละเอียดแล้วอัดประสานด้วยกาวชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติทนความชื้น ทำให้สามารถใช้งานในบริเวณที่มีความชื้นสูงได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในบริเวณที่แช่น้ำหรือโดนน้ำโดยตรง ไม้มีสีเขียวเนื่องจากผสมสีเขียวไว้ในเนื้อไม้เพื่อให้แยกออกจากไม้ MDF และไม้ HDF ได้ง่าย นิยมนำไป CNC ทำสี หรือปิดผิวด้วยเมลามีน วีเนียร์ หรือแผ่นไฮเพรสเชอร์ลามิเนต
คุณสมบัติของไม้ HMR
การใช้งานไม้ HMR
สามารถใช้ทำเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อินบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ตู้เคาน์เตอร์อ่างล้างจาน ตู้ใต้อ่างล้างหน้า หรือใช้ทำชั้นวางของในห้องน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปฉลุลายเพื่อใช้ตกแต่งเป็นฉากกั้นห้อง ฝ้าเพดาน หรือตกแต่งส่วนอื่นๆ ได้
6. ไม้อัด OSB (Oriented Strand Board) เป็นการนำชิ้นไม้ที่แบนบางและยาว วางสลับเสี้ยนขวางตั้งฉากกันอย่างน้อย 3 ชั้น คือผิวหน้าด้านนอกสองข้างจะเรียงตามความยาวแผ่น ส่วนแกนกลลางจะเรียงตามขวางเช่นเดียวกับลักษณะไม้อัดทำให้มีความแข็งแรงและความทนทานสูงใช้ทดแทนแผ่นไม้อัดได้เช่นเดียวกัน จากนั้นใช้กาวชนิดพิเศษและเรซินเป็นส่วนผสมผ่านกระบวนอัดด้วยความร้อน และแรงดันสูง จากนั้นเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ให้กับเนื้อไม้ เช่น ใส่น้ำยากันปลวกและเชื้อราต่างๆ ทำให้มีความแข็งแรงกว่าไม้อัดทั่วไป
คุณสมบัติของไม้ OSB
การใช้งานไม้ OSB
นิยมใช้ทำเป็น Sub roof สำหรับปู Shingle roof หรือใช้เป็นฝ้าและผนังที่เน้นโชว์ลายไม้ และสามารถใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ งานบิ้วอินภายในบ้านและอาคารต่างๆ ได้แต่ต้องมีการเก็บขอบเป็นอย่างดีไม่ให้เหลือเสี้ยนไม้
7. ไม้ไผ่อัด เป็นแผ่นไม้อัดซึ่งผลิตมาจากตอกไม้ไผ่เส้นๆ นำมาสานเป็นแผ่น หลังจากสานเป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ จึงนำเข้าเครื่องอัด เผื่อให้กาวและน้ำยาในการรักษาไม้ อัดแน่นเป็นแผ่น จึงสามารถนำมาใช้งานได้ทนทาน โดยอายุการใช้งานจะสามารถใช้งานได้ถึง 10 ปีขึ้นไป
คุณสมบัติของไม้ไผ่อัด
การใช้งานไม้ไผ่อัด
เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน และภายนอก งานเฟอร์นิเจอร์ งานทำบูท งานอีเว้นท์ ตกแต่งรีสอร์ท ทำฝ้า เพดาน พื้นบ้าน
8. กระดาษอัด (Hard Board) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำไม้มาบดเป็นเยื่อ และผลิตตามกรรมวิธีเปียก (Wet-Process) คือการผ่านการขึ้นรูปเป็นแผ่นด้วยน้ำแล้วอัดด้วยความร้อนและแรงดันสูง โดยนำมาอัดให้เป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ
คุณสมบัติของกระดาษอัด
การใช้งานกระดาษอัด
เหมาะสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการต้นทุนต่ำในการทำงานตกแต่งภายในบ้าน เช่น ฝ้า เพดาน ทำเฟอร์นิเจอร์ กรุภายในรถยนต์ ทำตู้ลำโพงวิทยุ ทำกรอบรูป ฯลฯ
9. ไม้ยางพาราประสาน เป็นการนำไม้ยางพารามาผ่านกระบวนการผลิตเพิ่อเพิ่มความยาวให้กับไม้ยางพารา ทำโดยการนำไม้ยางพารามาประสานกันโดยวิธีเข้าเดือยยึดด้วยกาว โดยเชื่อมประสานกันที่ด้านหัวไม้ให้มีขนาดความยาว 2440 มม. และจึงนำมาประสานกันที่ด้านล่างด้วยกาว แล้วจึงขัดให้เรียบลื่น มีเกรด AA, เกรด AB, เกรด AC, เกรด BC, เกรด CC
คุณสมบัติของไม้ยางพาราประสาน
การใช้งานไม้ยางพาราประสาน
เหมาะสำหรับ งาน TOP โต๊ะ งานบิวท์อิน งานเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ชั้นเอนกประสงค์ และเฟอร์นิเจอร์ทั่วๆ ไป จนถึงหิ้งพระ เป็นต้น
10. แผ่นพลาสวูด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนการใช้แผ่นไม้ มีลักษณะเป็นแผ่นพีวีซีชนิดแข็ง (PVC Foam Sheet) ผลิตจากผง PVC ผสมกับสารปรุงแต่งแล้วขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีการรีด กดทับด้วยลูกกลิ้ง และหล่อแผ่นให้แข็งตัวอย่างรวดเร็วด้วยน้ำหรืออากาศ ทำให้ได้แผ่นที่มีผิวหน้าแข็งเป็นพิเศษทั้ง 2 ด้าน มีลักษณะเป็นสีขาวผิวหน้ามันและเรียบพร้อมทั้งเนื้อแกนกลางที่ละเอียดและแน่นไม่มีโพรงอากาศ มีคุณภาพสูง มีความหนาตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร จนถึง 25 มิลลิเมตร น้ำหนักเบา คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี
คุณสมบัติของแผ่นพลาสวูด